ปัญหาการคุ้มครองสิทธิในการดำเนินคดีอาญา กับพระสงฆ์เถรวาทในเมืองไทย

Main Article Content

พระครูปริยัติวีราภรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดสิทธิพระสงฆ์ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ในประเด็น ความเหมาะสมในการนำมาตรา 29 และมาตรา 30 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาบังคับใช้ในกรณีการให้พระภิกษุสละสมณเพศ เป็นการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ก่อนมีศาลปกครองได้มีการยื่นฟ้องคดีที่ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมรับคำร้องไว้พิจารณา จนมีคำสั่งและคำพิพากษาศาลฎีกา ทำให้เห็นว่าก่อนมีศาลปกครองการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ยังถูกควบคุมโดยศาลยุติธรรม แต่สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหลังมีศาลปกครองก็คือ ศาลปกครองไม่รับคำร้องในกรณีดังกล่าวไว้พิจารณา โดยให้เหตุผลว่า “คณะสงฆ์หรือองค์กรทางพระพุทธศาสนานั้นมีกระบวนการเยียวยาและสร้างความเป็นธรรมภายในองค์กรที่เหมาะสมเป็นระบบดีแล้ว ศาลปกครองไม่อาจจะปฏิเสธการเข้าไปควบคุมตรวจสอบได้เลยเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครอง แนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม และมาตรการเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนา ควรมีการแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 29 และ มาตรา 30 เพื่อป้องกันมิให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจดุลยพินิจเพียงฝ่ายเดียวและไม่เหมาะสม ในกรณีที่คดียังไม่ถึงที่สุดห้ามสึกพระเป็นอันขาด และควรตั้งศาลสงฆ์ขึ้นมาพิจารณาคดีร่วมกับฝ่ายบ้านเมือง เช่นในการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับทหาร ยังมีศาลพระธรรมนูญของทหาร เป็นการป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาใช้ช่องว่างของกฎหมายเข้ามาอาศัยประโยชน์ อีกทั้งเป็นการถ่วงดุลย์ในการใช้อำนาจของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น       

Article Details

How to Cite
พระครูปริยัติวีราภรณ์. (2023). ปัญหาการคุ้มครองสิทธิในการดำเนินคดีอาญา กับพระสงฆ์เถรวาทในเมืองไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 385–394. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268672
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2544). ยุทธศาสตร์การพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อคนจน. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก http:www.geocities.com/rightfreedom/academic

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2525). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

ณรงค์ ใจหาญ. (2546). “การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา”. ใน รายงานการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาและจำเลย. กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2563). สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535). (2535). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 16 (4 มีนาคม 2535) .

รุจิระ บุนนาค. (2561). คดีอาญากับการสละสมณเพศ, หนังสือพิมพ์แนวหน้า, หน้า 14. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2565 จาก https://www.naewna.com/business/ columnist/35878