กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการกำหนดอาหารและการสื่อสาร กับผู้ประกอบวิชาชีพ

Main Article Content

กนกพงษ์ ม่วงศรี
วิทยาธร ท่อแก้ว
สุภาภรณ์ ศรีดี
กมล ไชยสิทธิ์

บทคัดย่อ

การประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหาร เป็นสาขาวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์ในด้านการดูแลด้านโภชนาการ เป็นหนึ่งในสาขาทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งได้เกิดขึ้นเป็นวิชาชีพหนึ่งตาม พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 ทำให้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพและโภชนาการของผู้ป่วยที่มารับบริการ จึงมีกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เพียงแค่กฎหมายวิชาชีพตามกฎหมายการประกอบโรคศิลปะเพียงอย่างเดียว ยังมีประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เข้ามาเกี่ยวข้องที่มีการกำหนดโทษทางอาญาแบบออกเป็นโทษ จับ ปรับ จำคุก และมีการกำหนดการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทบสิทธิของผู้ป่วยจากการประกอบวิชาชีพอันถือเป็นผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีโทษทางปกครองที่คณะกรรมการวิชาชีพเป็นผู้พิจารณาโทษที่อาจจะมีบทลงโทษทั้งการตักเตือน พักใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต ตามแต่คณะกรรมการวิชาชีพเป็นผู้พิจารณา การประกอบวิชาชีพของนักกำหนดอาหารยังมีกฎหมายเรื่องสถานพยาบาลที่มาควบคุมบทบาทและหน้าที่ รวมถึงสถานที่ในการประกอบวิชาชีพ ที่มาเกี่ยวข้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตามที่กฎหมายกำหนด และในแง่ของการให้บริการทางการแพทย์ด้านการกำหนดอาหารก็ถือเป็นหนึ่งในการบริการสาธารณสุข ที่จะวางหลักเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคที่มาใช้บริการทางการแพทย์ด้านการกำหนดอาหารก็จะมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มาใช้บริการ ส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องกระทำการประกอบวิชาชีพด้วยความระมัดระวัง การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้เกิดความตระหนักในกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพื่อการประกอบวิชาชีพการกำหนดอาหารที่ปลอดภัยทั้งกับตนเองและผู้ป่วย

Article Details

How to Cite
ม่วงศรี ก. ., ท่อแก้ว ว. ., ศรีดี ส., & ไชยสิทธิ์ ก. (2023). กฎหมายกับการประกอบวิชาชีพการกำหนดอาหารและการสื่อสาร กับผู้ประกอบวิชาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(4), 16–29. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268641
บท
บทความวิชาการ

References

กมล ไชยสิทธิ์ และคณะ. (2565). บทบาทหน้าที่ของนักกำหนดอาหารตามพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การกำหนดอาหารเป็นหนึ่งในสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2563. วารสารบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรท้องถิ่น, 8(9), 389-400.

กิตติธร ปานเทศ. (2561). โรคที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(1), 108-19.

ธนโรจน์ หล่อธนะไพศาล. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์: กรณีศึกษาเปรียบเทียบในอาเซียน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 10(1), 138-60.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสถานพยาบาลอื่นซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล พ.ศ.2565. (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 133ง หน้า 20-24 (13 มิถุนายน 2565).

พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการกำหนดอาหารเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2563. (2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 46 ก หน้า 40-45 (23 มิถุนายน 2563).

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535. (2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1-324 (31 มีนาคม 2535).

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499. (2499). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอนที่ 95 ฉ.พิเศษ หน้า 1-123 (13 พฤศจิกายน 2499).

พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 ตอนที่ 39 ก หน้า 1-20 (10 พฤษภาคม 2542).

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. (2539). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 6 ก หน้า 1-4 (27 กันยายน 2539).

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก หน้า 52-94 (27 พฤษภาคม 2562).

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522. (2522). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 72 ฉ.พิเศษ หน้า 20-96 (30 เมษายน 2522).

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก หน้า 1-15 (19 มีนาคม 2550).

ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา. (2566). คดีผู้บริโภค. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2566 จาก https://atymc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/8956/iid/150219

Chalongsuk R. (2016). Consumer protection system in health. Thai Bull Pharm Sci, 11(1), 86-99.