อิทธิพลของพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ต่อความตั้งใจท่องเที่ยว ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย

Main Article Content

เบญจมาศ จิตรนอก
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว
วราพรรณ อภิศุภะโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับความตั้งใจท่องเที่ยวของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย 2 ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับความตั้งใจท่องเที่ยวของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย 3 อิทธิพลของพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับความตั้งใจท่องเที่ยวของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรในการศึกษาคือกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ใช้การสุ่มแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคำนวณสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรม รีลส์ ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 อยู่ในระดับปานกลาง ความน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 อยู่ในระดับมาก และความตั้งใจในการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความตั้งใจท่องเที่ยวของกลุ่มคนเจเนอเรชันวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรม รีลส์ ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลร่วมกับความตั้งใจท่องเที่ยวของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนมกราคม 2565. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://www.mots.go.th/download/article/ article_20220228095455.pdf

กิตติยา เด่นชัย. (2558). พฤติกรรมการใช้และการรับรู้ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเมืองพัทยา. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อดิจิทัล ต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว ในบทบาทของความเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 50-60.

ธนกร สิริสุคันธา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมบูติคในจังหวัดเชียงใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวจีน. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(2), 94-101.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พิชญ์ชาดา มีใจเย็น. (2560). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว . มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณพร ปานสาคร. (2565). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวคนเดียว (Solo Traveler) ของหญิงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อภิชญา ณัฐพงศ์พฤทธิ์. (2558). รูปแบบการดำเนินชีวิต การรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ ความน่าเชื่อถือ และพฤติกรรมการตัดสินใจการท่องเที่ยวต่างประเทศ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล . สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Bangkokbiznews. (2565). ข้อมูลล่าสุดสถิติใช้ดิจิทัลในไทย จากรายงาน We are social. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/ columnist/989552

Berhanu, K., & b, S. R. (2020). The trustworthiness of travel and tourism information sources of social media: perspectives of international tourists visiting Ethiopia. Heliyon, 6(3), 2-10.

Contentshifu. (2565). กลยุทธ์การตลาด 4P [ Marketing Mix ] คืออะไร? พร้อมตัวอย่างวิเคราะห์แบบ Step – by – Step. Contentshifu. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2565 จาก https://contentshifu.com/blog/4p-marketing-mix

Everydaymarketing. (2563). Insight ทุก Generation 2021 ตั้งแต่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y, Gen Z ถึง Alpha. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2565 จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-all-generation-2021-baby-boomer-gen-x-gen-y-gen-z-alpha-from-tcdc-report/

Hovland, et al. (1953). Communication and persuasio. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2565 จาก https://about.instagram.com/blog/announcements/introducing-instagram-reels-announcement

Instagram. (2022). Introducing Instagram Reels. Instagram. Retrieved July 5, 2022, from https://about.instagram.com/blog/announcements/introducing instagram-reels-announcement

Kasikornbank. (2564). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค ปี 2022 พร้อมเปิดอินไซต์แต่ละ Generation ที่ธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2565 จาก https:// www.kasikornbank.com/th/personal/thewisdom/articles/Pages/Business-Empowerment_Onward60_2021.aspx

Kotler, P. (2000). Marketing management : analysis, planning, implementation, and control. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Menon, D. (2022). Factors influencing Instagram Reels usage behaviours : An examination of motive, contextual age and narcissism. Telematics and Informatics Reports, 5, 2-10.

Motiveinfluence. (2565). รวมสถิติ ‘Reels’ ในไทย หลังผ่านไป 1 ปี. เรียกใช้เมื่อ 3 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.motiveinfluence.com/blog/marketing/รวมสถิติReelsในไทยหลังผ่านไป1ปี/382

Positioningmag. (2564). สรุปภาพรวม ‘สายเที่ยว’ ของชาว ‘Instagram’ พบ ‘คาเฟ่และธรรมชาติ’ หมุดหมายหลักที่อยากไป. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก https://positioningmag.com/1366679

Primal. (2565). นักการตลาดควรรู้! วิธีใช้ INSTAGRAM REELS สร้างแบรนด์ให้ปั. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.primal.co.th/th/social/instagram-reels-for-marketing/

Rana, R. (2014). Selecting Software Reliability Growth Models and Improving Their Predictive Accuracy Using Historical Projects Data. Journal of Systemsand Software, 98(1), 59-78.

Sakshi, et al. (2020). Social vacation: Proposition of a model to understand tourists’ usage of social media for travel planning. Technology in Society, 63(1), 1-40.

Solution, W. (2562). ทำความรู้จักโลกในยุคดิจิทัล. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.wynnsoft-solution.com/บทความ/Get-to-know-the-world-in-the-digital-age

Sprout social. (2022). Social media demographics to inform your brand’s strategy in 2022. Retrieved July 4, 2022, from https://sproutsocial.com/insights/ new-social-media-demographics/