พรหมวิหาร 4 : กับการบริหารงานบุคคลในองค์กร

Main Article Content

พรทิพย์ อนุพัฒน์
พระครูสิริธรรมาภิรัต
สันติ อุนจะนำ
ทิพมาศ เศวตวรโชติ

บทคัดย่อ

          การบริหารงานบุคคลเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากในองค์กร เพราะคนคือองค์รวมของความซับซ้อนผู้บริหารจะต้องใช้ศาสตร์คือความรู้ และศิลป์คือทักษะหรือศิลปะในการสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในด้านต่างๆ ดังนั้น “ผู้บริหาร” ซึ่งต้องดูแลทุกข์และสุขของบุคลากรในองค์กรจึงต้องมีพรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1) เมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข ผู้บริหารควรมีความปราณาดีต่อทุกคนและให้การสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานมีความสุข 2) กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ในยามที่ผู้ใต้บังคับบัญชาประสบปัญหาผู้บริหารควรให้กำลังใจพร้อมช่วยเหลือและสร้างแรงบันดาลใจถือเป็นสิ่งสำคัญ 3) มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เมื่อลูกน้องประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน เจ้านายก็ควรแสดงความยินดีด้วยความจริงใจ 4) อุเบกขา ความหวังดีย่อมมีขอบเขตและตั้งอยู่บนความยุติธรรม จะเห็นได้ว่าหลักพรหมวิหาร 4 นี้ ครอบคลุมทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับทุกเรื่องในชีวิต ไม่ใช่เฉพาะกับเรื่องการทำงาน ไม่จำกัดเฉพาะคนที่เป็นเจ้านาย แต่คนที่เป็นลูกน้องก็สามารถใช้หลักการนี้ในการดำเนินชีวิตได้เช่นกัน หากต่างฝ่ายต่างอยู่ร่วมกันด้วยความปรารถนาดีต่อกันซึ่งผู้บริหารนอกจากจะมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบริหารงานแล้ว ความเป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ และมีจริยธรรมที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ถือเป็นคุณสมบัติอันสำคัญที่จะเป็นส่วนเสริมให้ผู้บริหารนั้นสามารถบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักครองตน ซึ่งเป็นกลักธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามเป็นผู้ประเสริฐซึ่งส่งผลให้ทุกคนในสังคมสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
อนุพัฒน์ พ. ., พระครูสิริธรรมาภิรัต, อุนจะนำ ส. ., & เศวตวรโชติ ท. . (2023). พรหมวิหาร 4 : กับการบริหารงานบุคคลในองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 269–282. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268249
บท
บทความวิชาการ

References

จงศักดิ์ ผดุงทรัพย์. (2551). กลไกการบริหารทรัพยามนุษย์ของตุลาการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประสาสน ศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประสาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.

พลเดช นามวงศ์. (2564). การบริหารโดยวัตถุประสงค์. เรียกใช้เมื่อ 19 เมษายน 2564 จาก http://www.gotoknow.org/posts/340024

พิชัย เสงี่ยมจิตต์. (2542). การบริหารสถานบันเพื่อความป็นเลิศ. เมือง: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

วินัย ภูมิสุข, ณัฎกานต์ หงษ์กุลเศรษฐ์. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 7(3),457-465 .

สมเกียรติ.พ่วงรอด. (2544). การบริหารงานบุคคล. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมคิด บางโม. (2546). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สมเด็จพระญาณสังวร เจริญ.สุวฑฺฒโน). (2543). รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สมพงษ์. เกษมสิน. (2556). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๕,. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เสกมนต์.สัมมาเพ็ชร์. (2559). ทรัพยากรการบริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบําบัดพิเศษกลาง กรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

อำนวย.แสงสว่าง. (2544). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์การพิมพ์.