ความนิยมเลือกใช้ข้อตกลง FOB และ CIF สำหรับการค้าระหว่างประเทศที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์

Main Article Content

ธารินทร์ กุลปรียะวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลของความนิยมเลือกใช้ข้อตกลง FOB และ CIF สำหรับการค้าระหว่างประเทศที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ตำรา บทความวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า สภาหอการค้าระหว่างประเทศ (ICC) ได้สนับสนุนให้มีการใช้ข้อตกลงสำหรับการขนส่งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (FCA, CPT, CIP, DAP, DPU, DDP) แทนข้อตกลงที่ใช้กับการขนส่งทางเรือ (FAS, FOB, CFR, CIF) ด้วยเห็นว่าข้อตกลงที่ใช้กับการขนส่งทางเรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการค้าที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ด้วยเหตุที่ผู้ขายไม่ได้ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นบรรทุกบนเรือ แต่ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ (CY) หรือ ณ สถานีบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) เพื่อขนตู้ขึ้นบนเรือต่อไป แต่ในทางปฏิบัติ คู่สัญญายังคงเลือกใช้ FOB หรือ CIF สำหรับการค้าที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก ธนาคารผู้เปิดเครดิตได้กำหนดเอกสารที่ผู้ขายต้องยื่นเพื่อขอรับเงินตาม L/C เป็นใบตราส่งชนิด “บรรทุกแล้ว” เพื่อให้ธนาคารเกิดความมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อขายนั้นได้ถูกบรรทุกขึ้นเรือแล้ว ธนาคารจึงกำหนดให้ซื้อขายในราคาตาม FOB หรือ CIF ประการที่สอง หากการซื้อขายตกลงกันด้วย FCA ความเสี่ยงภัยในตัวสินค้าได้โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อต่อเมื่อสินค้าได้ถูกส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง และก่อนที่ตู้คอนเทนเนอร์จะถูกยกขึ้นเรือ ผู้ซื้อต้องจ่ายค่าภาระหน้าท่า (Terminal handling charges: THC) เมื่อผู้ซื้อไม่ต้องการจ่ายค่าภาระหน้าท่า (THC) ผู้ซื้อยังคงเลือกใช้ FOB

Article Details

How to Cite
กุลปรียะวัฒน์ ธ. (2023). ความนิยมเลือกใช้ข้อตกลง FOB และ CIF สำหรับการค้าระหว่างประเทศที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 258–268. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/268248
บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส อิสราพานิช. (2564). คุณรู้จักระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางทะเลไหม. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS /QM166_p025-30.pdf

กำชัย จงจักรพันธ์. (2559). กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์. (2563). การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก:กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565 จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/241420

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงสร้างรายการค่าใช้จ่าย. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565 จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2016/03/2015_07_THC_Final-report-150702.pdf

สำนักอบรมและศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. (2563). Incoterm และการชำระราคา. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/ files/Data_web/dowloads_doc/term1/w.pdf

อาวุธ โพธิ์เล็ก. (2543). เจาะลึกข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ไอโอนิค อินเตอร์ เทรด รีซอสเสซ จำกัด.

Greedisgoods. (2564). CFS และ CY คือ อะไร? เงื่อนไขการขนส่ง CY กับ CFS. Retrieved พฤษภาคม 25, 2564, from https://greedisgoods.com/cfs-คือ-cy-คือ/

Jonas Malfliet. (2011). Incoterms 2010 and the mode of transport: how to choose the right term. Retrieved April 28, 2021, from https://core.ac.uk/download/ pdf/55826221.pd