การเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้านสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้านสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ การทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนในระหว่างเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้านสิ่งแวดล้อม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 คิดเป็นร้อยละ 85.40 ส่วนรายด้านคุณลักษณะพบว่า คุณลักษณะด้านดำเนินการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 คิดเป็นร้อยละ 93.20 คุณลักษณะด้านวิเคราะห์ปัญหา คุณลักษณะด้านวางแผนแก้ปัญหา คุณลักษณะด้านนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ คุณลักษณะด้านระบุปัญหา และคุณลักษณะด้านสรุปผลการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.80 ร้อยละ 84.80 ร้อยละ 83.40 ร้อยละ 83.00 และ ร้อยละ 82.20 ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2556). แนวทางสร้างสรรค์ Eco School โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.deqp.go.th/media/36848/development-resize.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัญญาวีร์ ชายเรียน. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ธารา บัวคำศรี. (2561). 3 ประเด็นสิ่งแวดล้อมปี 2561 ไม่ควรพลาด. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/1774/3-environmental
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น์.
ประสาท เนื่องเฉลิม. (2558). การเรียนรู้โดยการบริการสังคม Service Learning. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 2(1), 9-18.
ปรียาพร พรหมพิทักษ์. (2558). 21 ปี บนเส้นทางส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ป่าฝน เนกซ์สเตป จำกัด.
พันทิพย์ เหล่าหาโคตร. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). องค์แห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ตถาตาพับ บลิเคชัน.
ศรัณย์ อัมระนันท์และคณะ. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยเน้นการใช้คำถามระดับสูง เรื่องพันธะโคเวเลนต์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 56-70.
ศิริวรรณ หล้าคอม. (2556). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 141-147.
ศิริวุฒิ บัวสมาน และ ธีร์กัญญา พลนันท์. (2557). วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) โรงเรียนสมเด็จพิมพ์ พัฒนาวิทยา. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2562 จาก https://www.slideshare.net/siricom4bip-decs-model
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 3 : ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สุปรางค์ จาตุจินดา. (2563). 10 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมรอบโลกไวรัส COVID-19. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/16992/
Bruner, S. (1966). Studies in Cognitive growth: A collaboration at the center for Cognitive Studies. New York: John Willy and Son.
Carin A., and Sund B. (1975). Teaching Modern Science. Printed in the United States of America: Uni.
Dewey, J. (1962). Democracy and Education. New York: McGraw-Hill Book.
Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2004). Models of teaching (7th ed). Boston: Pearson / Allyn and Bacon.
Kongson, R. (2020). The Capabilities of Science Teachers in Providing Environmental LiteracyAccording to the STSE-Approach for Schools in an Environmentally ImpactedProvince. International Journal of InnovationProvince. International Journal of Innovation, 12(11), 242-259.
Lambert, L. et al. (2002). The constructivist leader (2nd ed.). New York: Teacher’s College Press.
Sandle, K. (2005). Service learning research at Ohio University. Retrieved December 5, 2019, from http://ww.ohiou.edu/commserv/servlern/research.htm
Semken, S. (2005). Sense of place and place-based introductory geoscience teaching for American Indian and Alaska native undergraduates. Journal of Geoscience Education, 53(2), 149-157.
Solomon, J. (1993). Teaching science, technology and socie. Buckingham: Open University Press.