ผลของการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา ความต้องการของผู้ดูแลและศักยภาพของผู้ดูแล เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ความสามารถในกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ และการวิเคราะห์ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ดูแล จำนวน 226 คน กลุ่มเครือข่าย จำนวน 270 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, T - test และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุเชิงเส้น ผลวิจัยพบว่า ผู้ดูแลต้องการมีความรู้ที่สามารถปฏิบัติได้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือผู้สูงอายุ ศักยภาพของผู้ดูแลหลังพัฒนามีบทบาทการทำงานระดับสูงมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) mean difference (MD) = 4.05 มีคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าก่อนพัฒนา MD = 31.31 เครือข่ายมีส่วนร่วมมากกว่าก่อนพัฒนาระดับสูง MD = 3.36 คุณภาพชีวิตด้านความสามารถในกิจวัตรประจำวันโดยรวมเพิ่มขึ้น MD = 70.195 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตโดยรวมผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ร้อยละ 37.2 (R2Adj. = 0.372, p < 0.001) จำนวน 8 ปัจจัยจาก 11 ปัจจัย เรียงอิทธิพลมากไปน้อย ได้แก่ ล้างหน้า-หวีผม-แปรงฟัน (R2Adj. = 0.183), การลุกนั่ง (R2Adj. = 0.154), การอาบน้ำ (R2Adj. = 0.117) การขึ้นลงบันได (R2Adj. = 0.117) การกลั้นปัสสาวะ (R2Adj. = 0.069) การกลั้นอุจจาระ (R2Adj. = 0.051) การรับประทานอาหาร (R2Adj. = 0.014) การสวมใส่เสื้อผ้า (R2Adj. = 0.013) สรุป ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่า การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ จังหวัดชุมพรครั้งนี้ ทำให้ผู้ดูแลมีศักยภาพในระดับสูงและเครือข่ายมีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา ปัญญาธร และชลการ ทรงศรี. (2563). การดูแลสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 2(2), 41-52.
นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2564 จาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2563/research. rmutsb-2563-20210809104008337.pdf
ปัณณทัต ตันบุญเสริม. (2561). ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางตอนล่างที่ 1. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษา, 4(1), 127-136.
ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์ และอรสา กงตาล. (2563). การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(3), 48-65.
พิณทิพย์ จำปาพงษ์. (2561). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยพยาบาลครอบครัวและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(3), 85-92.
เพ็ญนภา มะหะหมัด. (2561). รูปแบบการจัดบริการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลสุไหงโก-ลก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), 51-63.
ภาสกร สวนเรือง และคณะ. (2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 437-449.
ยศ วัชระคุปต์ และคณะ. (2561). ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 608-624.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดชุมพร. (2564). โครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ประจำปี 2564. เรียกใช้เมื่อ 24 กันยายน 2564 จาก https://localfund. happynetwork.org/project/105601
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. (2565). รายงานผลการดำเนินงานการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายจังหวัดชุมพร. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2564 จาก http://www.cmpo.moph.go.th
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(3), 46-65.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
อัจฉรา คำมะทิตย์. (2564). หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 315-328.
Nugraha S. & Aprillia Y. T. (2020). Health-Related Quality of Life among the Elderly Living in the Community and Nursing Home. KEMAS, 15(3), 419-425.
United Nations. (2017). World population prospects the 2017 revision key findings and advance tables. New York: United Nations.