ประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมด้วยโปรแกรมสติบำบัด ต่อระดับปัญหาการดื่มสุรา และระยะเวลาการกลับไปเสพติดสุราซ้ำ ของผู้ป่วยโรคติดสุราที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับปัญหาการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุรา กลุ่มได้รับโปรแกรมสติบำบัด และกลุ่มได้รับการบำบัดตามกิจกรรมปกติ 2) เปรียบเทียบระยะเวลาการกลับไปเสพติดสุราซ้ำของผู้ป่วยโรคติดสุรา กลุ่มได้รับโปรแกรมสติบำบัด และกลุ่มได้รับการบำบัดตามกิจกรรมปกติ หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง 116 คน ได้จากการวิเคราะห์ Power analysis of sample size กำหนดสัดส่วน 1 ต่อ 3 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสติบำบัด 28 คน กลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมปกติ 88 คน คัดเลือกแบบเจาะจงที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ คะแนนประเมินอาการขาดสุราน้อยกว่า4 ไม่มีอาการทางจิตหรืออาการทางจิตทุเลา สามารถเรียนรู้ได้ ติดตามผลหลังบำบัด 3 ระยะ ได้แก่ 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการแปลผลระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ T - test วิเคราะห์เปรียบเทียบระยะเวลาการกลับมาเสพสุราซ้ำของทั้ง 2 กลุ่ม โดย Multivariable Flexible Parametric Survival Regression ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัญหาการดื่มสุรา ระยะก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับปัญหาการดื่มสุราต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) 2) เปรียบเทียบระยะเวลาการกลับไปดื่มสุราซ้ำพบว่าในระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองสามารถลดการกลับมาดื่มสุราได้ช้าลง 99.4% โดยเฉพาะใน 2 สัปดาห์แรก และมีโอกาสกลับมาติดสุราซ้ำ ช้ากว่ากลุ่มควบคุมเฉลี่ย ถึง 72 วัน ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 อยู่ระหว่าง 68 ถึง 78 วันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. (2562). รายงานประจำปี 2562 กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก http://www.nbhospital.go.th/10704nbh/index.php/psychiatry
แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2558). การเจริญสติบำบัดภาวะเสพติด. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก https://yutthagos.rta.mi.th/yutthagos-macazine/2558/10-12/007.pdf
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2559). คู่มือสติบำบัดสำหรับการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด [Mindfulness- Based Therapy and Counseling for Relapse Prevention manual]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บริษัทบียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.
สาวิตรี อัษณาวงค์กรชัย. (2562). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปีพ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์(1992).
โสภิต นาสืบ และอรทัย วลีวงศ์. (2560). สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก http://thaincd.com/document/ doc/meeting-seminar/download1no502.pdf
Athirasan K. (2018). The Role of Mindfulness in Treating Addictive Disorders and Rehabilitation.Int J Psychol Behav Anal. Retrieved March 20, 2018, from http://dx.doi.org/10.15344/2455-3867/2018/155
Bowen, S. et. al. (2014). Relative Efficacy of Mindfulness-Based Relapse Prevention. Standard Relapse Prevention and Treatment as Usual for Substance Use Disorders : A Randomized Trail JAMA Psychiatry, 71(5), 547-556.
Carddaciotto L, et. al. (2008). The Assesment of Present-Moment Awareness and Acceptance:The Philadephia Mindfullness Scale. Assessment, 15(2), 204-223.
Coriale et al. (2018). Treatment of alcohol use disorder from a psychological point of view. Rivista Di Psichiatria, 53(3), 141-148.
G. Alan Marlatt. (2558). การเจริญสติสามารถสามารถบำบัดภาวะเสพติดได้ทำให้สมองเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านโครงสร้าง. เรียกใช้เมื่อ 23 มีนาคม 2565 จาก https://m.mgronline.com/dhamma/detail/9580000036987
Garland, E. L., & Howard, M. O. (2018). Mindfulness-based treatmentof addiction: Current state of the field and envisioning the next of research. Addiction Science & Clinical Practice, 13(1), 1-14.
Luberto et al. (2013). Mindfulness Skills and Emotion Regulation. the Mediating Role of Coping Self-Efficacy Mindfulness, 5(4), 1-10.
Lyonsa T. et al. (2019). Mindfulness Based Relapse Prevention in Jail Drug Treatment Program. Subst Use Misuse, 54(1), 57-64.
Silpakit, O. (2015). Mindfulness-Based Relapse Prevention Program for Alcoholism: A Case-Control Study. Siriraj Medical Journal, 67(1), 8-13.
Sornla K. (2012). The effect of mindfulness training program on alcohol craving of inpatient alcohol dependence receiving detoxification. In dissertation, Nursing Science (Mental Health Nursing and Psychiatry), Faculty of Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University.
United Nations. (2019). Transforming our world:The 2030agenda for sustainable development. Resolution adopted by the General Assembly. Retrieved March 20, 2018, from https://sdgs.un.org/sites/default/files/publications /21252030 Agenda for Sustainable Development web.pdf
Witkiewitz et al. (2019). Advances in the science and treatment of alcohol use disorder. Science Advances, 5(9), 1-11.
World Health Organization. (2019). Global status report on alcohol and health 2018. World Health Organization. Retrieved March 20, 2019, from https:/apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 274603/9789241565639 -eng.pdf