ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของ เจ้าหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาความสอดคล้อง ระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรการรับรู้ความยุติธรรม มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อตัวแปรพฤติกรรมการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดเท่ากับ .67 รองลงมา คือ ตัวแปรเจตคติ ตัวแปรความพึงพอใจ ตัวแปรแบบอย่างในการทำงาน และตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคต ขนาดอิทธิพลเท่ากับ .61, .52, .31 และ .24 ตามลำดับ และ 2) โมเดลตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้ ค่าไค-สแควร์ (Chi-sauare) มีค่าเท่ากับ 154.655 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .043 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน(GFI) มีค่าเท่ากับ .972 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .962 ดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ .972 ดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) มีค่าเท่ากับ .048 ที่องศาอิสระเท่ากับ 128 เมื่อพิจารณาค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ ได้เท่ากับ 1.208 ถือว่ามีความสอดคล้องระดับปานกลาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกศล มีคุณ และณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูยศ ศรีวรขันธ์. (2553). ปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน:กรณีศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล: การบริหารการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม =Promoting good governance : principles, practices and perspectives/Sam Agere (แปล). กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2540). ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาของคนไทย: การปลูกฝังอบรมและคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. .
นีออน พิณประดิษฐ์. (2543). ปัจจัยทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการติดสารเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษา และนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
นีออน พิณประดิษฐ์ และคณะ. (2545). ตัวบ่งชี้ทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการสังกัดตำรวจภูธรภาค 4. ใน รายงานการวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร ธรรมาธร. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมด้านอุทิศตนของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 1(2) 97-114.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Greenberg, J. (1990). Organizational Justice : Yesterday, Today and Tomorrow. Journal of Management, 16(2), 399-432.
Moorman, R. H. (1991). Relationship between Organizational Justice and Organizational Citizenship Behaviors : Do Fairness Perceptions Influence Employee Citizenship? Journal of Applied Psychology, 76(6), 845-855.