การใช้นิทานท้องถิ่นสองภาษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนนิทานท้องถิ่นสองภาษาที่ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 และ 2) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองแรดวิทยา จำนวน 12 คน ในปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และบทเรียนนิทานท้องถิ่นสองภาษา จำนวน 4 บทเรียน แต่ละบทเรียนประกอบด้วย 1) นิทานท้องถิ่นสองภาษาพร้อมรูปภาพประกอบ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากวรรณกรรมท้องถิ่นที่เล่าขานโดยปราชญ์ชุมชน 2) คำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวน 10 คำ นำเสนอพร้อมรูปภาพที่เกี่ยวข้อง และ 3) แบบฝึกหัดคำศัพท์ โดยคำศัพท์คัดเลือกมาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษา ของสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บทเรียนถูกใช้ผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ กิจกรรมก่อนฟังและอ่าน กิจกรรมขณะฟังและอ่าน และกิจกรรมหลังฟังและอ่าน บทเรียนที่ใช้เกณฑ์ E1/E2 ที่ 70/70 นี้ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหาและความเหมาะสม ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไปในทุกด้าน ด้านแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และผู้วิจัยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลความรู้ด้านคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนนิทานสองภาษามีประสิทธิภาพ อยู่ที่ 84.67/79.58 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 2) ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนสูงขึ้นหลังการใช้บทเรียนนิทานสองภาษา โดยก่อนการใช้บทเรียนนักเรียนมีความรู้ด้านคำศัพท์เฉลี่ย 12.50 (S.D. = 4.01) และหลังการใช้บทเรียนนักเรียนมีความรู้ด้านคำศัพท์เฉลี่ย 15.92 (S.D. = 2.68)

Article Details

How to Cite
ฐานะกอง เ. . (2022). การใช้นิทานท้องถิ่นสองภาษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(12), 77–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/265560
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา ฉัตรบูรภานันท์ และคณะ. (2556). การวิเคราะห์คำศัพท์ที่ปรากฏในเอกสารประกอบการสอนปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยเทคโลโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโลโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ชื่นจิตร ว่องวชิราพาณิชย์ และเฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ภาพประกอบการสอน ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2 (1), 17-22.

ดลวรรณ พวงวิภาต. (2554). ผลการเรียนรู้และความคงทนเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากการเรียนด้วยหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารินทร อินทับทิม. (2564). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยนิทานพื้นบ้าน 2 ภาษาของกลุ่มครูผู้สอนสาระภาษาไทยและภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษา กลุ่มเมืองพะเยา 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 29-55.

ปวีณา บุตรวงค์. (2558). ผลการเรียนรูปและความคงทนการจําคําศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2 โดยใช้กลวิธีลินซ์รวมกับเทคนิคเพื่อนคูคิด. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปริญญา, 13(2), 45-56.

ผณินทรา ธีรานนท์ และคณะ. (2564). โมเดลนิทานเพื่อสอนภาษาอังกฤษผ่านการบูรณาการการบริหารโครงการและการทำวิจัย: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 138-150.

พรรณนที โชติพงศ์. (2552). การใช้กิจกรรมประกอบจังหวะเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคาศัพท์และความคงทนในการเรียนรู้คาศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพ็ญนภา คล้ายสิงโต และคณะ. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยผ่านนิทานของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 24(2), 116-138.

ศุภลักษณ์ วัฒนาเฉลิมยศ. (2554). การพัฒนานิทานมัลติมีเดียเพื่อเสริมการอ่านภาษาอังกฤษด้วยตนเองที่มีการให้ความหมายของคำศัพท์ 3 รูปแบบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2563 จาก https://www.mdh.go.th/news_file/p75850761016.pdf

สุธาสินี ทีฆะบุตร และ รินทร์ ชีพอารนัย. (2561). ผลการใช้กิจกรรมนิทานภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถในการพูดของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 968-981.

Gomez, M. B. (2010). How to use tales for the teaching of vocabulary and grammar in a primary education English class. RESLA, 23(2010), 31–52.

Isbell, R. et al. (2004). The effects of storytelling and story reading on the oral language complexity and story comprehension of young children. Early Childhood Education Journal, 32(3), 157-163.

Kalantari, F. & Hashemian, M. (2015). A story-telling approach to teaching English to young EFL Iranian learners. Journal of English Language Teaching, 9(1), 221-234.

Soleimani, H. & Akbari, M. (2013). The effect of storytelling on children's learning English vocabulary: A case in Iran. International Research Journal of Applied and Basic Sciences, 4(11), 4005-4014.