การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองแหน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินกระบวนการ และ 4)ประเมินผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ (1) ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามของแบบสอบถาม (2) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ (1) ค่าเฉลี่ย , m) และ(2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D., s) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองแหนตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองแหนเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนพบว่า อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองแหนเกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ที่ไดรับจากการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลผลิต ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองแหนเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชฎาพร เสนเผือก. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ตามแนวการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดปากจ่า. สงขลา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2.
ทิวัฒน์ มณีโชติ. (2561). รูปแบบการประเมินโครงการ ใน การประเมินโครงการ หน่วยที่ 1 - 7 (พิมพ์ครั้งที่ 6) . นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรพรรณ เผือกผ่อง. (2560). การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมตามหลักพรหมวิหาร 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนางสาว ( ถาวรราษฎบำรุง ) จังหวัด สมุทรสาคร. ใน (สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว).ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านหนองแหน. (2563). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2563. สุพรรณบุรี: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3.
วิชชุ อายุสุข. (2563). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสมอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สันติสุข เทือกสุบรรณ. (2561). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์). สุราษฎร์ธานี: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สุภลักน์ งามโฉม. (2562). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านขวัญพัฒน์. สุราษฎร์ธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2.
สุวาสนา พรหมชีหมุน. (2563). รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากน้ำปากพญา. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1.
Stufflebeam, Daniel L. (1997). The Cipp Model for program evaluation. Indiana: Phi Delta Kappa.