ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลาง ของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลาง 2) เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลาง 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลาง 4) เพื่อเสนอแนวทางการลดความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลาง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางของนักศึกษาด้านพฤติกรรมการสอนของอาจารย์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.42 ปัจจัยรองลงมา คือ ด้านครอบครัว ซึ่งมีระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.25 2) ระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางของนักศึกษา มีระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางอยู่ในระดับมาก 3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางโดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมการสอนของอาจารย์และด้านครอบครัวส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางของนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ 4) แนวทางการลดความวิตกกังวลในการพูดภาษามลายูกลางของนักศึกษาสาขาวิชาภาษามลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สมควรให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการเรียนการสอนภาษามลายูกลางที่เหมาะสม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกศนีย์ มากช่วย และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ในการประชุมวิชาการหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (131-142). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
คอลัฟ ต่วนบูละ และคณะ. (2563). การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2563 จาก http://www.thai-explore.net/search_detail/result/ 9144
ทนัญชัย เยี่ยมสวัสดิ์. (2559). ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ : องค์ประกอบผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 1-12.
ธวัช ทะเพชร และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสาร พุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 341-352.
ปิยนุช อุดมเกียรติสกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพดภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย เอกชน จังหวดปทุมธานี. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
พิมลมาศ เกตุฉาย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา : กรณีศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฟาเดลล์ หะยีฮาราสะ. (2561). ภาษาและวัฒนธรรมมลายู. กรุงเทพมหานคร: หจก.นัทชา พริ้นติ้ง.
ศิรินันท์ นุยภูเขียว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 28(12), 231-243.
สุวรรณา ยุทธภิรัตน์. (2563). การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 6(1), 175-185.
อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2563). ภาษามลายูกับการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2) (Online). เรียกใช้เมื่อ 15 มิถุนายน 2563 จาก https://www.the101.world/bahasamelayu-and-politics-in-asean-2
อัตถากร หะยีอาแว. (2556). สนทนาภาษามลายูในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: หจก.นัทชา พริ้นติ้ง.
เอษณ ยามาลี. (2564). ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศปัญหาที่มิอาจมองข้าม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 207-221.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.