การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรสำหรับการเพาะขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด

Main Article Content

ศราวุฒิ ทับช่วยขวา
โชคชัย แซ่ว่าง
ชนาภา ไวยลาพี
ยิ่งยง เทาประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในการเปรียบเทียบผลการเก็บเมล็ดพันธุ์ 2 วิธี ได้แก่ วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์จากฝักแก่และวิธีการตัดแต่งกิ่งที่มีฝักแก่ จากต้นพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่ได้จากการเพาะปลูก เป็นระยะเวลา 5 เดือน และอยู่ในช่วงที่เริ่มมีฝักแก่ พบว่าการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์จากฝักแก่จำนวน 10 ชุด ชุดละ 500 กรัม พบว่า มีน้ำหนักเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 113.81 กรัมต่อชุด แบ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ 96.20 กรัม และเมล็ดพันธุ์ไม่สมบูรณ์ 17.61 กรัม คิดเป็นอัตราส่วน 5.46 : 1 เท่า มีความชื้น 8.43 % โดยมีน้ำหนักเปลือกแห้งเฉลี่ย 159.01 กรัมต่อชุด และวิธีการตัดแต่งกิ่งที่มีฝักแก่ จำนวน 3 ชุด ชุดละ 15 กิโลกรัม มีน้ำหนักเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 404.13 กรัมต่อชุด แบ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ 247.60 กรัม และเมล็ดพันธุ์ไม่สมบูรณ์ 156.53 กรัม คิดเป็นอัตราส่วน 1.58 : 1 เท่า มีความชื้น 7.54 % ผลการวิจัยพบว่าเมื่อวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียทั้ง 2 วิธี วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์จากฝักแก่ได้เมล็ดพันธุ์สมบูรณ์มากกว่าเมล็ดพันธุ์ไม่สมบูรณ์ถึง 5.46 เท่า แต่ต้องใช้เวลาและกำลังคนจำนวนมากในการเก็บฝักแก่บนต้น และวิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์จากการตัดแต่งกิ่งใช้ได้เมล็ดพันธุ์สมบูรณ์มากกว่าเมล็ดพันธุ์ไม่สมบูรณ์เพียง 1.58 เท่า ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กำลังคนน้อยและใช้เวลาน้อย ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ ขึ้นอยู่กับความพร้อมและข้อจำกัดของเกษตรกรแต่ละรายที่ต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกในระดับครัวเรือนและเสริมสร้างรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์

Article Details

How to Cite
ทับช่วยขวา ศ. ., แซ่ว่าง โ. ., ไวยลาพี ช., & เทาประเสริฐ ย. . (2022). การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรสำหรับการเพาะขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(11), 46–60. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/264915
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2564). คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตฟ้าทะลายโจร. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2565 จาก https://www.doa.go.th

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). "ตลาดสมุนไพร"เศรษฐกิจหลักของไทย. เรียกใช้เมื่อ 09 ตุลาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com

คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร. (2564). ทิศทางการขับเคลื่อนสินค้าเกษตร. เรียกใช้เมื่อ 09 ตุลาคม 2565 จาก https://www.eeco.or.th

จิรา ณ หนองคาย. (2551). หลักการและเทคนิคการขยายพันธุ์พืชในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นส์ติ้ง เฮ้าส์.

พชริดา แข็งขัน. (2552). อิทธิพลของวันปลูกและระยะปลูกต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร. ใน ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพืชสวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พุทธินันท์ อรพินท์พิศุทธิ์ และคณะ. (2564). การใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษา COVID-19. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2565 จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองประกอบโรคศิลปะ. (2459). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม.เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2565 จาก http://119.110.206.174/ULIB62015/dublin.php?ID=13399108110#.Y2NcwHZBzIU

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2565). ฐานข้อมูลงานวิจัยฟ้าทะลายโจร. เรียกใช้เมื่อ 05 มิถุนายน 2565 จาก http://agknowledge.arda.or.th

สุภาพร ครุสารพิศิฐ. (2564). ฟ้าทะลายโจรจากสมุนไพรทางเลือกสู่พืชเศรษฐกิจใหม่. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2565 จาก https://www.prd.go.th

อาทิตยา พองพรหม. (2564). การเพาะปลูกฟ้าทะลายโจร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.