แนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาแพทย์แผนไทย ก่อนฝึกปฏิบัติการรักษาโรคหืดด้วยยาสมุนไพรหนุมานประสานกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาแพทย์แผนไทยก่อนฝึกปฏิบัติการรักษาโรคหืดด้วยยาสมุนไพรหนุมานประสานกาย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กระบวนการถอดประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus group) ของอาจารย์แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ จำนวน 40 ราย โดยใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดขั้นตอนและขอบเขตของเนื้อหาให้นักศึกษาแพทย์แผนไทยฝึกปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาแพทย์แผนไทยก่อนฝึกปฏิบัติการรักษาโรคหืดด้วยยาสมุนไพรหนุมานประสานกายประกอบด้วยการฝึก 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ฝึกการสอบสวนโรคเป็นการเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะเกี่ยวกับนิยามและข้อบ่งชี้ของโรคหืด ขั้นที่ 2 ฝึกการตรวจและวินิจฉัยเป็นการเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค และสมุฏฐานโรค ขั้นที่ 3 ฝึกการกำหนดกลไกและโอกาสในการรักษาเป็นการเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะด้านการวางแผนการรักษา ขั้นที่ 4 ฝึกการปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาเป็นการเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะเกี่ยวกับวิธีการรักษา ส่วนประกอบตัวยา รูปแบบทางเภสัชกรรม ข้อบ่งใช้ ขนาดวิธีใช้ คำเตือน และการเก็บรักษายา ขั้นที่ 5 ฝึกการประเมินผลเพื่อยุติการรักษา เป็นการเตรียมนักศึกษาให้มีทักษะการวิเคราะห์ผลเพื่อยุติการรักษา จากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้แนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติการรักษาโรคหืด และสามารถต่อยอดเป็นคู่มือเสริมการรักษาโรคหืดด้วยยาสมุนไพรหนุมานประสานกาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรายุ ชาติสุวรรณ. (2565). อัตลักษณ์การแพทย์แผนไทยในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 58-71.
ณัฐกิตติ์ พงศ์ไกรสิทธิ์. (2564). การศึกษาศักยภาพและบทบาทของการแพทย์แผนไทยในบริบทของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ กรณีตัวอย่าง : การเสริมการรักษาโรคหืดด้วยสมุนไพรหนุมานประสานกาย. ใน วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ณัฐพร พิมจันทร์. (2564ก). การศึกษาแนวทางการรักษาโรคหืดหอบให้สอดคล้องกับภาวะผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักการแพทย์แผนไทย. ใน วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ณัฐพร พิมจันทร์. (2564ข). การศึกษาแนวทางการปรุงยาเสริมการรักษาโรคหืดให้สอดคล้องกับภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วยการแพทย์แผนไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 1-15.
ปรียานุช ศิริมัย. (2565). การประเมินผลคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก https://kb.hsri. or.th/dspace/handle/11228/1947
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก. (2565). โรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย. เรียกใช้เมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก https://www.stam2002.com
มะลิวัลย์ ปารีย์. (2558). การศึกษาข้อบ่งชี้ของอาการเจ็บป่วยของการแพทย์แผนไทยผ่านลักษณะของอวัยวะในร่างกาย. ใน บัณฑิตา อินสมบัติ. รายงานการประชุมสัมมนาวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ (ครั้งที่ 15). นครสวรรค์: สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รุสนี มามะ. (2558). การพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยของวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก. ใน วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สมปอง วงษาสุข. (2564). การประเมินผลคุณภาพการดูแลและผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่ในประเทศไทย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 151-157.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.