การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

สิริมา หิมะเซ็น
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ
จิระวัฒน์ ตันสกุล
ธีระยุทธ รัชชะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้ ใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 600 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับของ Likert สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม LISREL Version 8.72 ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.71 ถึง 0.91 เรียงค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ความกล้าที่จะแข่งขัน ความกล้าเสี่ยง การมีอิสระในการบริหารงาน ความมีนวัตกรรม และการทำงานเชิงรุก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.91, 0.90, 0.87, 0.84, และ 0.71 ตามลำดับ และผลการทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลวัดคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปรากฏว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 2.97 ค่าความน่าจะเป็น (p) = 0.40 ที่องศาอิสระ 3 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.01 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00

Article Details

How to Cite
หิมะเซ็น ส. ., รอบคอบ ณ., ตันสกุล จ. ., & รัชชะ ธ. (2022). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 109–123. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/264440
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายการวิจัยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Education). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ประกายเพชร วงสวาท. (2559). การมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการปัจจัยเชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานโดยผ่านความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพนธ์ เล็กสุมา. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนของ ผู้ประกอบการรายย่อยในเขตอำเภอเมืองนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: งานส่งเสริม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 15 : การสร้างสังคมผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เรียกใช้เมื่อ 22 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2558). อิทธิพลของปัจจัยแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อการเติบโตและความมุ่งหวังที่จะเติบโตของธุรกิจ: กรณีศึกษาประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 75-93.

สุธาทิพย์ จันทร์เจริญผล. (2558). อิทธิพลของการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการตลาดที่มีต่อการตอบรับจากลูกค้าและความได้เปรียบทางการแข่งขันของกิจการร้านยาในจังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 117.

Altinay, L., et al. (2012). The Influence of FamilyTradition and Psychological Traits on Entrepreneurial Intention. InternationalJournal of Hospitality Management, 31(2), 489-499.

Covin, J. G. & Slevin, D. P. (1991). A Conceptual Model of Entrepreneurship as Firm behavior. Entrepreneurship Theory and Practice, 24(November), 47-63.

Dueannapa Srisawat. (2017). ผู้ประกอบการที่ดีต้องมี10 ข้อ. Retrieved กรกฎาคม 10 , 2565 , from https://cheechongruay.smartsme.co.th/content/8263

Gurel, et al. (2013). Tourism students' entrepreneurial intention. Annals of Tourism Research, 37(3), 646-669.

Hair, J. F., et al. (1998). Multivariate data analysis. Retrieved กรกฎาคม 11 , 2565, from https://www.sanook.com/campus/1404948/

Lumpkin, G.T. & Dess, G.G. . (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking It to Performance. Academy of Management Review, 21, 135-172.

Miller, D. (1983). The correlates of entrepreneurship in three types of firms. Management Science, 29(7), 770-791.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A beginner’s guide to structural equationThesis, Ph.D. Arizona State UniversityCarroll, John B. 1963. “A Model of School Learning,” Teacher College Record, 64(May), 723-733.

Thompson, E. R. (2009). Individual entrepreneurial intent: construct clarification and development of an internationally reliable metric. Entrepreneurship Theory and Practice, 33(3), 669-694.