อัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคม: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตไทพวน ในภาคอีสาน

Main Article Content

เกศรี วิวัฒนปฐพี
โสภา ชัยพัฒน์
บงกช เจนชัยภูมิ
มาลินี ผลประเสริฐ
เดือนฉาย ผ่องใส

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีประเด็นถกเถียงเชิงวิชาการว่าไทพวนเป็นใคร มีตัวตนทางวัฒนธรรมอย่างไร เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเมื่อใด ทำไมจึงมาสวามิภักดิ์ต่อรัฐไทย ทั้งที่รากเหง้าของไทพวนอยูที่เมืองเชียงขวางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้วิจัยจึงกำหนดประเด็นไปที่การศึกษาแบบเจาะจงกลุ่มไทพวนในภาคอีสานจำนวน 48 คน โดยเลือกจากกล่มผู้สูงอายุ ได้แก่ ไทพวนบ้านบูฮม และบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ไทพวนบ้านหม้อ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ ไทพวนบ้านสระแอ อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ไทพวนบ้านถ่อน บ้านกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ ไทพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ไทพวนเหล่านี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาอยู่ในประเทศไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี ประเด็นสำคัญที่ค้นพบแตกต่างจากคนทั่วไปคือ การมีอัตลักษณ์เฉพาะตน และมีตัวตนทางวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม ทั้งด้านความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมและผลผลิตทางวัฒนธรรม พวกเขามีอัตลักษณ์ร่วมคือ ความสามัคคี รักพวกพ้อง ส่วนพื้นที่ทางสังคมเป็นแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การต่อรองให้ชาวไทพวนด้วยกันรับรู้ถึงความเป็นพวกเดียวกัน มีผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งผลให้เกิดภาพสะท้อนความเป็นไทพวนและกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทพวนได้แก่ ภาษาของไทพวน ผ้าทอมือ ผ้าขะม้าอีโป้ ผ้าซิ่น มงคล 9 สี พวนกะเลอ ซึ่งได้บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนไทพวนให้เด่นชัดขึ้นเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวที่ว่าด้วยการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ผู้วิจัยต้องการนำเสนอข้อค้นพบจากการวิจัยนี้

Article Details

How to Cite
วิวัฒนปฐพี เ. ., ชัยพัฒน์ โ. ., เจนชัยภูมิ บ. ., ผลประเสริฐ ม. ., & ผ่องใส เ. . (2022). อัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคม: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตไทพวน ในภาคอีสาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 62–77. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/264437
บท
บทความวิชาการ

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2540). ตำนานและพงศาวดารพวน : อุดมการณ์สมานฉันท์ระหว่าง เผ่าพันธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญถม เจริญชนม์. (5 ตุลาคม 2564). พัฒนาการสังคมและวัฒนธรรมไทพวนในภาคอีสาน. (นางเกศรี วิวัฒนปฐพี, ผู้สัมภาษณ์)

โพไซ สุนนะลาด. (2538). ดนตรี : วิถีชีวิตชาวไทยพวน แขวงเชียงขวาง ประเทศลาว. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพบูลย์ วิริยะพัฒนไพบูลย์. (2553). ประวัติศาสตร์พวนมาจากไหน. นนทบุรี: เลิศชัยการพิมพ์.

ฤดีมน ปรีดีสนิท. (2538). วัฒนธรรมประเพณีและประวัติศาสตร์ชุมชน กรณีไทย-พวน อำเภอ บ้านผือ. ใน รายงานการวิจัย . ราชภัฎอุดรธานี.

ลัดดาวัลย์ ใจหาญ. (4 ตุลาคม 2564). ภาพสะท้อนวิถีชีวิตไทพวนในภาคอีสาน. (พิพรรณ แก้วโภคา, ผู้สัมภาษณ์)

วิเชียร วงศ์วิเศษ. (2517). ไทยพวน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

สมพร สุทธิบุญ. (8 ตุลาคม 2564). การสร้างอัตลักษณ์ของชาวไทพวนในภาคอีสาน. (รพิพรรณ แก้วโภคา, ผู้สัมภาษณ์)

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2557). การประเมินและสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัย วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ความหลากหลายทางชาติพันธ์. ารสารภาษา และวัฒนธรรม, 1(2), 35-49.

สุจิตรา เข็มมุกด์. (2560). สัญลักษณ์ไทยพวน : การศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มวัฒนธรรมไทยพวนใน เขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยเพื่อแนวทางในการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดิจิตอล.