การผลิตสื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วม ของแกนนำเยาวชนชุมชนบางลำพู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทความต้องการในการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบางลำพู และผลิตสื่อสารคดีภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำเยาวชนชุมชนบางลำพู เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน แกนนำเยาวชน ชุมชนละ 3 คน รวม 21 คน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 ร่วมกันวางแผน ขั้นตอนที่ 2 ร่วมกันปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันสังเกตผล และขั้นตอนที่ 4 ร่วมสะท้อนผลกลับ ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนปฏิบัติการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างการมีส่วนร่วม ค้นหาบุคคลในพื้นที่ที่จะเข้าร่วมการผลิตสื่อผ่านการจัดค่ายเล่าเรื่องในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ กลุ่มเยาวชนบางลำพูได้พัฒนาทักษะด้านการพูด ด้านการแสดงออก ด้านการคิด ด้านการเขียนและด้านความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลสื่อแบบมีส่วนร่วมกับชาวบ้านในชุมชน ขั้นตอนที่ 4 ชมรมบางลำพูมีสื่อเพื่อเผยแพร่ ภูมิปัญญาชุมชนจากการดำเนินงานของตนเอง นอกจากนี้กลุ่มแกนนำเยาวชนชุมชนบางลำพูได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาของชุมชน ได้แก่ ร่วมทีมวิจัย ร่วมเก็บข้อมูล ร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง ร่วมตรวจสอบข้อมูล ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะการสื่อสาร และศักยภาพด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่สามารถนำไปปรับใช้กับการดำเนินงานพัฒนาชุมชนต่อไป นอกจากนี้ชุมชนบางลำพูได้ชิ้นงานสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำเยาวชนชุมชนบางลำพูที่สามารถนำไปใช้ในการเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
รสิกา อังกูล. (2562). การสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 9(1), 129-154.
รัตติกาล เจนจัด และคณะ. (2561). กระบวนการสร้างนักประชาสัมพันธ์ชุมชนแบบส่วนร่วม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 92-117.
ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. ใน ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อนฤมิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Cohen, J. M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measuresfor Project Design Implementation and Evaluation. Ithaca, NY: Rural DevelopmentCommittee Center for International Studies, Cornell University.
Kemmis, S., & McTaggart. . (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong. Australia: Deakin University Press.
Servaes, Jan. (1996). Particpatory Communication for Social Change. New Delhi: SagePubication.
Tufte,T., & Mefaloputlos, P. . (2009). Participatory communication: A practical guide. Washington D.C: The World Bank.
White, A. Shirley. (1994). Participatory Communication Working for change and development. New Delhi: Sage Pubication.