ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืนของตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางสังคมที่มีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน ของตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร 2) เสนอแนวทางการนำทุนทางสังคมไปใช้กับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน และ 3) พัฒนารูปแบบทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำภาครัฐ องค์กรชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้ประกอบการและประชาชนในชุมชน ในพื้นที่ชุมชนตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางสังคมที่มีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน ของตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนทางธรรมชาติ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม 2) แนวทางการนำทุนทางสังคมไปใช้กับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน ได้แก่ แนวทางการจัดตั้งกลุ่มในชุมชน การชักนำคนในชุมชนรวมกลุ่ม การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนและภาคีเครือข่าย และการส่งเสริมการเรียนรู้ของคนในชุมชน และ 3) การพัฒนารูปแบบทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืน ได้แก่ รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางด้านสังคม รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม และรูปแบบการสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจ

Article Details

How to Cite
คะตะสมบูรณ์ ห. . (2022). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างยั่งยืนของตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 32–48. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/264435
บท
บทความวิจัย

References

จันทรา แสนโคตร. (7 สิงหาคม 2565). ทุนทางสังคมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. (หทัยชนก คะตะสมบูรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

จิราพร ไชยเชนทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ใจสคราญ จารึกสมาน. (2558). ทุนทางสังคมกับการจัดการมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม กรณีศึกษา. ใน พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านวัดโฆษา บ้านท่าช้าง ตำบลห้วยไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2558). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์จํากัด.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์ . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติวัชร เกตุมณี. (2562). ข้อมูลบริบทระดับตำบล ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2556). ชุมชน. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฟ้าลั่น กระสังข์. (2561). ทุนชุมชนกับกระบวนการมีส่วนร่วมสู่การเป็นชุมชนพึ่งตนเอง : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชุมชนรางหวายและหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ . มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอเมืองชุมพร. (2563). การบริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก https:// google.com/ sunysersthkicmeuxngchum

สมัย บำรุงผล. (9 สิงหาคม 2565). แนวทางการพัฒนาทุนทางสังคมกับเศรษฐกิจชุมชน. (หทัยชนก คะตะสมบูรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

สุวรรณี คำมั่น และคณะ. (2557). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อำไพ ปานศรี. (10 สิงหาคม 2565). การพัฒนารูปแบบทุนทางสังคมกับการพัฒนาชุมชนต้นแบบ. (หทัยชนก คะตะสมบูรณ์, ผู้สัมภาษณ์)

อุไรวรรณ แมะบ้าน. (2563). การบริหารจัดการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนในรูปแบบชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ . มหาวิทยาลัยรังสิต.