การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นัชชา ทิพเนตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน รูปแบบการมีส่วนร่วม และการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล 2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และ ระดับปานกลาง 2 ด้าน และรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 3 ด้าน 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน ในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล กับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร และด้านการรับฟังความคิดเห็น ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาท้องถิ่นของคน

Article Details

How to Cite
ทิพเนตร น. . (2022). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395–413. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/263422
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

ฐิติมา อุดมศรี. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล ในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ. Veridian E-Journal, SU (Humanities, Social Sciences, and Arts), 5(3), 220-238.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). ทฤษฎีและแนวคิด : การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่นภาคแรก. กรุงเทพมหานคร : คบไฟ.

นวลฉวี ประเสริฐสุข และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทย : ด้านการดูแลสุขภาพจิต. นครปฐม: สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชราภรณ์ พรมพลเมือง และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานี วิชาการ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชธานี.

วัชรินทร์ อินทพรหม. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3), 278-289.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรพินท์ สพโชคชัย. (2550). หลักสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.