ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผล ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 2) วิเคราะห์ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีบารมี ด้านการกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา ด้านความซื่อสัตย์อย่างจริงใจ ด้านการเสริมสร้างอำนาจ และด้านการมีสัญลักษณ์ ตามลำดับ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครราชสีมาภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) ภาวะผู้นำ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านความซื่อสัตย์อย่างจริงใจ การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสิน ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลจากการวิจัยนำปัจจัยที่ส่งผลมาเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). องค์ความรู้ : การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (สำหรับเจ้าหน้าที่). กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.
คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ปัญหาอุปสรรค์และทางออก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119-135.
ปัทมา สูบกำปัง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
มานิตย์ จุมปา. (2551). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุฒิพงษ์ มีบุญ. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.