การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการนึกภาพ (Visualization) กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

กมลทิพย์ เกตุศรี
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี
รุ่งทิวา แย้มรุ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพ 2) เปรียบเทียบความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนโดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพ 2) แผนการสอนโดยการสอนแบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพสูงกว่าก่อนได้รับการสอน และสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการนึกภาพสูงกว่าก่อนได้รับการสอน และสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
เกตุศรี ก. ., เชื้อสุวรรณทวี ช. ., & แย้มรุ่ง ร. . (2022). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการนึกภาพ (Visualization) กับการสอนแบบปกติ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 92–107. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/263272
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้เเละตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เเละสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลวดี อำภาวงษ์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด(CGI) ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(72), 147-154.

เกษณีย์ ยอดไฟอินทร์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลเฟสเมท็อดคอมบิเนชันและกลยุทธ์การพัฒนาความคิดทางคณิตศาสตร์ที่มีความสามารถในการให้เหตุผลและการนึกภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: พี บาลานซ์ดีไซน์เเอนปริ้นดิ้ง.

ภัทรอร อริยธนพงศ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 266-277.

วิชัย พาณิชย์สวย. (2546). สอนอย่างไรให้เด็กเก่งโจทย์คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

วิมลพันธ์ ทรายทอง. (2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด(CGI) ที่ใช้ทักษะการให้เหตุผลและการเชื่อมโยงโดยบูรณาการสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล กับ สิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิธร แม้นสงวน. (2559). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2 = Teaching behavior in mathematics 2 CMA 4102 (TL 462) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). เรขาคณิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาธุรกิจ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). การให้เหตุผลในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: เอส. พี. เอ็น. การพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 วิชาคณิตศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 12 มิถุนายน 2562 จากhttps://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5 b7zSbUdGWmU2QkQwT00/ view?resourcekey=0-jD8uOJrQRS58ZKLVVwkFDg

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดเเละสาระการเรียนรู้เเกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุธารัตน์ สมรรถการ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เเบบการสอนเเนะให้รู้คิด(CGI) เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยนเเละวิธีจัดหมู่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการเเก้ปัญหาเเละความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alice, et al. (1999). Mathematics Reasoning During Small-GroupProblem Solving. Developing Mathematical Reasoning in Grades K-12 1999 Yearbook. Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics.

Carpenter, P. et al. (1989). Using knowledge of children’s thinking in classroom teaching: An experimental study. American Educational research Journal, 26(4), 499-531.

Fennema, M. L. F. et al. (1993). Using children’s Knowledge in Instruction. American Educational research Journal, 27(4), 556-583.

Guzman, M. d. (2002). The role of visualization: In teaching and learning of mathematical analysis. Paper presented at the 2nd International Conference on the Teaching of Mathematics (at the undergraduate level). Retrieved February 6, 2019, from ERIC (2002-July) Acc. No. ED472047

Presmeg, N. (2006). Research on visualization in learning and teaching mathematicsIn Handbook of research on the psychology of mathematics education. Retrieved August 18, 2019, from https://www.researchgate.net /publication/241301299_Research_on_visualization_in_learning_and_tea ching_mathematics.

Alice, et al. (1999). Mathematics Reasoning During Small-GroupProblem Solving. Developing Mathematical Reasoning in Grades K-12 1999 Yearbook. Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics.

Carpenter, P. et al. (1989). Using knowledge of children’s thinking in classroom teaching: An experimental study. American Educational research Journal, 26(4), 499-531.

Guzman, M. d. (2002). The role of visualization: In teaching and learning of mathematical analysis. Paper presented at the 2nd International Conference on the Teaching of Mathematics (at the undergraduate level). Retrieved February 6, 2019, from ERIC (2002-July) Acc. No. ED472047

Presmeg, N. (2006). Research on visualization in learning and teaching mathematicsIn Handbook of research on the psychology of mathematics education. Retrieved August 18, 2019, from https://www.researchgate.net /publication/241301299_Research_on_visualization_in_learning_and_teaching_mathematics