ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ชฎาวรรณ กิ่งโคกกรวด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาหลักธรรมาภิบาล และคุณภาพการให้บริการ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอย  และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ วิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรของโรงพยาบาลรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาองค์กร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ระดับหลักธรรมาภิบาล ของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก หลักภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเห็นอกเห็นใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลและคุณภาพการให้บริการ พบว่า หลักนิติธรรม และการให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ควรมีการกระจายอำนาจในการบริหารงานเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล

Article Details

How to Cite
กิ่งโคกกรวด ช. . (2022). ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 300–318. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262577
บท
บทความวิจัย

References

เชิดชู อริยศรีวัฒนา. (2554). มหันตภัย 30 บาท รักษาทุกโรค. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ.

นิชาภา เชยะสิทธิ์ และคณะ. (2561). องค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรม ทรัพยากรน้ำบาดาล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). ธรรมาภิบาลในองค์กรอิสระ. เอกสารประกอบการบรรยาย วันที่ 8 มิถุนายน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

พระสกล ฐานธมฺโม (อินทร์คล้าย). (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลัก ธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรพล แสงพุ่ม. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัชดากร ทมินเหมย. (2556). หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลใน เขตจังหวัดน่าน. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสน ศาสตร์. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

รับขวัญ ภาคภูมิ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากำแพงเพชรเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพง.

วรชัย สิงหฤกษ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมา ใช้ในการบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. วารสาร การจัดการสมัยใหม่, 14(1), 67-76.

สยาม ชูกร. (2559). คุณภาพการให้บริการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอบ้านแพ้ว. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Barnard, C. I. (1968). The Function of the Executive. Cambridge, Mass: Harvard University Press.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Hodge, B. J. & Anthony, W. P. (1988). Organization Theory (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Yamane. T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.