โอกาสและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวนตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ศึกษาเกี่ยวกับ หลักการ โอกาส อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสอนตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวนั้น มีความสำคัญในการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล สร้างความสมานฉันท์ในสังคม และลดภาระงบประมาณของแผ่นดิน จากการศึกษาพบว่า มีอุปสรรคอยู่หลายประการคือ 1) เนื้อหาหรือเรื่องที่ไกล่เกลี่ยในคดีอาญาได้มีเพียงบางประเภท เช่น คดีความผิดอาญาที่มีความผิดลหุโทษบางมาตราไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ 2) ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการให้ไกล่เกลี่ย 3) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการขอไกล่เกลี่ยคดีเนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์อย่างเพียงพอ 4) ผู้ไกล่เกลี่ยขาดทักษะในการไกล่เกลี่ยคดี 5)ระยะเวลาในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยยังไม่มีความชัดเจน และควรต้องทดสอบความรู้เพิ่มเติม 6) ทัศนคติของพนักงานสอบสวนในการรับบทบาทในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือสนับสนุนให้เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว 7) ยังไม่มีการจ่ายเงินค่าตอบแทนของผู้ทำหน้าที่ทำหน้าที่ในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยของบุคคลภายนอกและพนักงานสอบสวน 8) ขาดระบบที่สนับสนุนอย่างเพียงพอในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โอกาสที่มีคือ 1.ได้ผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความเป็นวิชาชีพและจริยธรรม 2.ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยอย่างเหมาะสม 3.แนวคิดยุติธรรมสมานฉันท์ที่จะช่วยลดภาระของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงควรมีการพัฒนาและปรับปรุงทั้งในส่วนของเนื้อหากฎหมาย สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน และพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ย รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานสอบสวนและผลักดันระบบที่เอื้ออำนวยต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2542). กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2540). ความเป็นประชาธิปไตยในกระบวนการยุติธรรม (รวมบทความด้านวิชาการของศาสตาจารย์ ดร.คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด). กรุงเทพมหานคร : พิมพ์อักษร.
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2547). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ทางเลือก ในการยุติข้อขัดแย้งทางอาญาสำหรับสังคมไทย. วารสารดุลพาห, 5(2), 20-36.
ชลัท ประเทืองรัตนา. (2564). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพาทภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562: โอกาสและข้อท้าทาย. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 14(3), 1-18.
โชติช่วง ทัพวงศ์. (2558). คู่มือนักเจรจาไกล่เกลี่ย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
ธานี วรภัทร์ และ วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล. (2562). การรวบรวมคดีเรื่องการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกิดจากกระบวนการประนอมข้อพิพาทในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ.2557-2561. เรียกใช้เมื่อ 26 พฤษภาคม 2565 จาก https://thac.or.th/v1/file/20200225%20
นันทวัน วงษ์สุภักดี. (2563). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นสอบสวน : ศึกษา พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ย 2562. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิติพนธ์ เคาภูเขียว. (2562). ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีก่อความวุ่นวายในงานคอนเสิร์ตของพนักงาน. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2565 จาก http://www.lawgrad.ru.ac.th /Abstracts/594
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอน67 ก หน้า 1-21 (22พฤษภาคม 2562).
เพลินตา ตันรังสรรค์. (2553). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กับการกระทำความผิดอาญาของเด็กและเยาวชน. วารสารจุลนิติ, 7(6), 54-62.
ลาวัลย์ นาคดิลก และ สัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวคิดการไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 61-75.