การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจการเงิน ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงการระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของหมวดธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) วิเคราะห์ผลกระทบจาก COVID-19 ต่ออัตราส่วนทางการเงิน 3) เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินในแต่ละด้าน เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างจากบริษัทในหมวดธุรกิจการเงินแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 บริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2562 จนถึงไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2563 และการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานบริษัทโดยใช้ t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มธนาคารและกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์มีความสามารถในการทำกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตมีความสามารถในการดำเนินงานที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยยังมีความสามารถในการทำกำไรค่อนข้างดี เนื่องจากในช่วงโควิด-19 กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตขายประกันได้มากทำให้อัตราส่วนด้านนี้เพิ่มขึ้น ส่วนด้านนโยบายการเงินมีระดับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือลดลง อย่างไรก็ตามผลกระทบจาก COVID-19 ต่ออัตราส่วนทางการเงินของหมวดธุรกิจการเงิน พบว่า กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ได้รับผลกระทบเล็กน้อย และเมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานการในช่วงก่อนและช่วงสถานการณ์การเกิดเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่าบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินมีอัตราส่วนทางการเงินลดลงเฉพาะความสามารถในการทำกำไรจากอัตราการหมุนของสินทรัพย์เท่านั้น แต่อัตราส่วนด้านความสามารถในการดำเนินงาน และนโยบายทางการเงิน มีผลการดำเนินงานที่ไม่แตกต่างกัน สรุปได้คือ ไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทนา วัฒนกาญจนะ. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจการเกษตรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสยามวิชาการ, 16(2), 78-96.
ชลิตา รอดแป้น และสุพรรณี บัวสุข. (2563). ผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.set.or.th/set/
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). "New Normal" โจทย์ใหม่ของธนาคารกลางในโลกหลังโควิด -19. เรียกใช้เมื่อ 26 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.bot.or.th/Thai/ BOTMagazine/
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บัณฑิต นิจถาวร. (2560). 20 ปีวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปี 40. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2560 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/6417833
ภณิดา สมบัติชัย และอภิรดา สุทธิสานนท์. (2559). การวิเคราะห์คุณภาพกำไรและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี, 11(1), 73 - 90.
สมประวิณ มันประเสริฐ. (2563). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 12 เมษายน 2563 จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/ economic-covid-impact
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2563). รายงานข้อมูลประกันภัยรายเดือน. เข้าถึงได้จาก http://www.oic.or.th/th/industry /statistic/data/39/2)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2563). ข้อมูลตลาดทุน. เรียกใช้เมื่อ 2563 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.set.or.th/set/
สุพัตรา จันทนะศิริ และนิกข์นิภา บุญช่วย. (2563). การวิเคราะห์คุณภาพกำไรของธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(2), 325-340.