การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ ต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัย บทความวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัย one – group pretest – posttest design กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล” ภาคเรียนที่ 1 / 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน เวลาในการทดลองจำนวน 14 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้แบบอุปนัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาระยะ 3 ปีของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2547-2549). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ฆนัท ธาตุทอง. (2551). การออกแบบการสอนและบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ = Mathematics instruction. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรม : การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทพร ระภักดี. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยเทคนิคการสอนแบบอุปนัย-นิรนัยเรื่องความคล้ายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุศรา อิ่มทรัพย์. (2551). ผลการใช้สื่อประสมเรื่อง "การแปลงทางเรขาคณิต" ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจคคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2553). ความรู้ทั่วไปด้านการศึกษาพิเศษ = General knowledge about special education : ES 501. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัฒนา มณีวงศ์. (2542). ผลของการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถทางการเรียนเรขาคณิตและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์การสอน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). เอกสารส่งเสริมความรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพีชคณิต. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชีรา ไวถนอมสัตว์. (2554). การใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD ในรายวิชาการบัญชีต้นทุนของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2558). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล.
เสาวเพ็ญ บุญประสพ. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา = Educational psychology. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อาคเนย์ ฉัตรบรรยงค์. (2548). ชุดการเรียนเรื่องความเท่ากันทุกประการที่เน้นระดับขั้นการเรียนรู้เรขาคณิตของแวนฮีลีของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Community literacy of ONTARIO. (2013). Literacy Basics. Retrieved June 22, 2019, from http://literacybasics.ca/training/instructional-strategies/