การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาระดับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียนที่ได้รับการจัดเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนผู้เรียน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 15 คาบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และแบบวัดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยใช้แผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม (one shot experimental case study) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test for one sample ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับดีเลิศขึ้นไป ได้แก่ ระดับดีเลิศและระดับยอดเยี่ยม จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด โดยมีจำนวนผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับดีเลิศ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด และมีจำนวนผู้เรียนที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2548). คู่มือผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง : การจัดการศึกษาสำหรับ ผู้มีความสามารถพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 1.
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2549). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ. นครปฐม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1.
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 68 ง หน้า 18-20 (20 มีนาคม 2562).
ชัยรัตน์ สุลำนาจ. (2547). ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ที่มีต่อทักษะ/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ มัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. (2541). โครงงานคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพ วิชาการ.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-based learning : PBL). สสวท, 42 (188), 14-17.
นรินทร์ธร ผาริการ. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ที่มีต่อทักษะการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัย และสถิติทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ผดุง อารยะวิญญู. (2551). การสอนเด็กปัญญาเลิศ. กรุงเทพมหานคร: กองทุนการศึกษาเพื่อ เด็กพิการ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2549). คู่มือการสอนโครงงานคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: Learn and Play MATHGROUP.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การ ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สิริพร กุลวงศ์. (2557). โครงงานคณิตศาสตร์: ประถม-มัธยม. กรุงเทพมหานคร: เบ็นพับลิชชิง.
อารี สัณหฉวี. (2540). รูปแบบการเรียนการสอนเด็กปัญญาเลิศ = Teaching models in education of the gifted. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ.
อุษณีย์ บูรณะเชษฐกุล. (2547). การศึกษาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มี ความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดโปรแกรม เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์ในศูนย์วิทยพัฒนา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Trujillo, K. M. (1998). Student Attitudes Toward Mathematics Projects. In (Alternative Assessment, Cooperative Learning). Dissertation Abstracts International.