การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และ2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนด้านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกระบวนการสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 39 คน โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 แผนการเรียนรู้ เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษ เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการอ่านภาษาอังกฤษโดยกระบวนการสอนแบบ SQ4R มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าทดสอบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณด้วยกระบวนการสอนแบบ SQ4R ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการและค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์โดยเฉลี่ย 80.17/88.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการสอนแบบ SQ4R พบว่ามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 26.46 และการวิเคราะห์ t-test ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 8.420 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความพึงพอใจของผู้เรียนด้านเนื้อหาวิชา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านสื่อการเรียนการสอน ต่อกระบวนการสอนแบบ SQ4R ก่อนเรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และหลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 แสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยวิธีเอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กานต์ธิดา แก้วกาม. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีสอนแบบปกติ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 7(3), 43-56.
จุรีภรณ์ มะเลโลหิต. (2561). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจของนิสิตที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารอินทนิลทักษิณสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(3), 213-227.
ถนอมจิตต์ สารอต และคณะ. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษาด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ. Humanities and Social Sciences, 33(3), 39-66.
นัฐปภัสร์ ทับแอน และวิภาดา ประสารทรัพย์. (2564). การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Academic Journal of MBU; Lanna Campus, 10(1), 88-94.
ภูมินทร์ เหลาอำนาจ. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. Phetchabun Rajabhat Journal, 15(2), 71-76.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). เกณฑ์มาตรฐานและการรับรองความสามารถภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ต่อเนี่อง). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริญญา ศรีคํา และคณะ. (2558). SQ4R กับการพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความ. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภฏันครปฐม.
สิริพร รัตนมุง และอธิกมาส มากจุ้ย. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ SQ4R. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 194-203.
Jerry L. (1980). The SQ3R Study Technique: A Forgotten Research Target. Journal of Reading, 23(8), 705-708.