พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียน โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปัญจพร เกื้อนุ้ย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนในโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนในโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในโรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 186 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีรายได้จากผู้ปกครอง 1,000 – 3,000 บาทต่อเดือน ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด และเข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์จากที่บ้าน เฉลี่ย 1 - 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย ประมาณ 100 – 299 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างเลือกเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน Facebook มากที่สุด รองลงมาคือแอปพลิเคชัน YouTube โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ดูโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิดีโอ ฟังเพลง รองลงมาคือ เพื่อพูดคุย รองลงมาคือ เพื่อแบ่งปัน (แชร์) ความรู้ ภาพถ่าย วิดีโอ และเพื่อเล่นเกม ตามลำดับ ด้านการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมในระดับปานกลาง (  = 3.30) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผลและการทำความเข้าใจสื่อและสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.42) ด้านการเข้าถึงสื่อและสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.26) และด้านการใช้และการสร้างสื่อและสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เกื้อนุ้ย ป. . (2022). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียน โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 198–211. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262070
บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(2), 16-31.

ณัฐวดี บุญวัฒโนภัส. (2559). การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพของเยาวชนในอำเภอเมืองภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(3), 48-62.

นักรบ นาคสุวรรณ์. (2564). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาไทยในยุคดิจิตอล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1), 490-502.

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 209-219.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยสาส์น.

ประสพชัย พสุนนท์. (255). การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 112-120.

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษา Facebook. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล. (2563). แผนกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระยะ 3 ปี (2563-2565) โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก http://www.changklangschool.ac.th/documentschool

วิรวินท์ ศรีโหมด. (2559). โซเชียลมีเดีย สื่อไร้สายมหันตภัยวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2561 จาก https://www.posttoday.com/politic/report/430928

สำนักงานสถิติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). รายงานสถิติจังหวัด พ.ศ. 2562 นครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม 2563 จาก http://nksitham.nso.go.th/ index.php?option=com_content&view= category &id=102&Itemid=507

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. ใน รายงานการสำรวจ. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.