ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ดาวเดือน อินเตชะ
พิมพ์พิศา จันทร์มณี
ภูดิส เหล็งพั้ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นแบบเชิงปริมาณ และเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย Correlation และMultiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.45) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเป็นอันดับแรก ได้แก่ ท่านใช้วิธีการติดต่อสำรองที่พักในการมาท่องเที่ยวโดยระบบออนไลน์ หรือผ่านทาง social network (=4.67) รองลงมา ลักษณะของการเดินทางมาเที่ยวมาโดยรถยนต์ส่วนตัว (=4.46) มีวัตถุประสงค์ในการมาท่องเที่ยว เพื่อมาพักผ่อน หลีกหนีความจำเจในชีวิต เยี่ยมญาติ/เพื่อน หรือท่องเที่ยวตามเทศกาลต่าง ๆ (=4.45) เวลาในการมาท่องเที่ยว คือ วันหยุด ลาพักร้อน หยุดเทศกาล (=4.44) ที่ท่านเดินทางมาท่องเที่ยวกับ แฟน เพื่อน (=4.12) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.28) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (=4.38) รองลงมา ด้านราคา (=4.29) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ( =4.26) และ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด (=4.17) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ในทุกด้าน อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
อินเตชะ ด., จันทร์มณี พ. ., & เหล็งพั้ง ภ. . (2022). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน จังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 173–187. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262063
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). การท่องเที่ยวไทย. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://www.dbd. go.th/index.php

กระทรวงการท่องเที่ยว. (2563). สถิติการท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://www. mots. go.th/more_news_new.php?cid=411

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(1), 160-167.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา, 3(1), 22-25.

ละเอียด ศิลาน้อย และสุภาวดี สุทธิรักษ์. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเทียวแหล่งท่องเทียวเชิงเกษตร : กรณีศึกษาสวนสละอาทิตย์อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2), 47-59.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). ท่องเที่ยวและโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https:// www. gsbresearch.or.th/gsb/category/economics/industrial-economics/industry-update/service/travel-and-hotels/

สมหทัย จารุมิลินท. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวซ้ำในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน สารนิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อารีวรรณ บัวเผื่อน. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการมาท่องเที่ยวประเทศไทย : กรณีศึกษา สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 199-223.

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed.). ( pp.202-204). New York: Harper Collins Publisher.

Hair, J., et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddleRiver. New Jersey: Pearson Education International.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in AttitudeTheory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.