ภาวนา 4 : หลักธรรมะเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้คนเก่งคิดและเก่งทำ

Main Article Content

พระครูสุทธิวรญาณ (ภักดี เขมธโร)
อาษา ศรีประวัติ
ถาวร โคตรชัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งหมายกล่าวถึงหลักธรรมะเพื่อการพัฒนาคนในองค์กร ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการวิเคราะห์เลือกเฟ้นหลักธรรมที่เหมาะสม ตามแนวทางธรรมะวิจัย (Dhamma Vijaya) ซึ่งเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาใช้พัฒนาบุคลากร ในองค์กรให้มีคุณลักษณะที่โดดเด่นและรู้เท่าทันการเปลี่ยน คือ การนำหลักการของ “ภาวนา 4” เป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้นำไปปฏิบัติตามแล้วจะมีผลดี คือ 1) กายภาวนา คือ การเจริญกาย พัฒนาทางกาย 2) ศีลภาวนา คือ การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ 3) จิตตภาวนา คือ การเจริญจิต พัฒนาจิตใจ 4) ปัญญาภาวนา คือ การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา เพื่อฝึกอบรมให้บุคลากรภายในองค์กรเกิดความรู้ ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา ผสานร่วมกับแนวคิดทางตะวันตกในการพัฒนาบุคลากร โดยการส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความคิด ความสามารถ และทักษะเพิ่มขึ้น ให้มีความเป็นเลิศด้านพฤติกรรม ด้วยหลักการฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา โดย มุ่งเน้นให้บุคลากรมีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ใช้หลักธรรมพัฒนาจิตใจ และปัญญา ส่งผลให้การทำงานเกิดความสามัคคี เพราะบรรยายกาศ ในการทำงานที่มีความสดชื่น เป็นกัลยาณมิตร ทำให้เกิดสมาธิจดจ่อ มุ่งมั่น อดทนในการทำงานเห็นคุณค่าของงานมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เมื่อมีอายุงานมากขึ้นทำให้เกิดทักษะความชำนาญจนสามารถมองเห็นกระบวนและต่อยอดจนกลายเป็นการพัฒนางานของตน ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรโดยการผสานด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางการศึกษาของตะวันตกจึงเป็นแนวทางพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

Article Details

How to Cite
(ภักดี เขมธโร) พ. ., ศรีประวัติ อ. ., & โคตรชัย ถ. (2022). ภาวนา 4 : หลักธรรมะเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้คนเก่งคิดและเก่งทำ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 67–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/262049
บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา เงารังสี และคณะ. (2560). การเรียนรู้สู่ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2560). การพัฒนาคนแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : แนวทางใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต).

พระมหาฉัตรชัย อภิชโยและจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2564). “การบริหารงานตามแนวหลักพุทธ ธรรม” . วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3 (3) 55-56.

พระมหาภัคศิษฐ์ มหาวิรีโย และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2560). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักภาวนา 4”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 4 (1), 42-49.

วนิดา วาดีเจริญ. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ คณะฯ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุมิตร สุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรัชนี เคนสุโพธิ์. (2560). การฝึกอบรม และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. อุดรธานี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.