มนุษย์กับศาสตร์แห่งการปกครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันนี้โลกกำลังเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมวลมนุษย์ มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น ทำให้สังคมมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนแปลงวิถีทางในการดำเนินชีวิต นักสังคมวิทยาพบว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างออกไปจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ความเป็นสัตว์สังคมที่จำเป็นต้องใช้ชีวิตร่วมกัน และความสามารถในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมาใช้ การศึกษาเกี่ยวกับสังคมมนุษย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของการรู้จักสังคมและการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ในสังคม คำว่า “มนุษย์” แปลว่า “ผู้มีจิตใจสูง” หมายถึง ผู้ที่มีใจสูงด้วยคุณธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้ว่า คุณธรรมที่จะทำให้เกิดมาเป็นมนุษย์และเป็นมนุษย์ที่แท้ได้ก็เพราะเบญจศีล และเบญจธรรมคือ ศีล 5 และธรรม 5 กล่าวคือการที่จะเกิดเป็นคนได้ ก็เพราะศีลและธรรมนำให้มาเกิด โดยนัยตรงกันข้าม ใครมีเบญจศีล เบญจธรรมไม่ครบก็จะขาดความเป็นมนุษย์ตามลำดับ คือขาดมากข้อก็ยิ่งเหลือความเป็นมนุษย์ลดน้อยลงทุกที ก็เป็นแค่คนไม่ถึงขั้นเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ มนุษย์ในสังคมจะหลีกหนีไม่ได้เลยในส่วนของเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการอาศัยอยู่ร่วมกัน และ การปกครองการเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม อีกทั้งการปกครองหรือที่เรียกว่า รัฐศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง รวมทั้งการบริหารจัดการ ตลอดจนการดำเนินงานของรัฐ มนุษย์มีความสัมพันธ์ในทางรัฐศาสตร์ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กล่าวคือเวลาเกิดก็ต้องมีใบแจ้งเกิด เวลาตายก็ต้องมีใบมรณบัตร เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ชวลิตร เกิดทรัพย์ และคณะ. (2552). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์), 15(1), 141-160.
ณัฐชญา จิตภักดี และคณะ. (2564). การพัฒนามนุษย์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 208-219.
นงนุช วงษ์สุวรรณ. (2553). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส.
ปราณี จุลภักดิ์ และคณะ. (2559). การประเมินโครงการฝึกประสบการณืวิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 94-115.
พรนิภา จันทร์น้อย. (2560). รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามคุณลักษณะบัณฑิตอุดมคติไทย. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2562). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ: กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. เรียกใช้เมื่อ 27 ตุลาคม 2563 จาก http://www2.feu.ac.th/acad/llrc/JID/Detail.aspx?id=303
ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เรืองเดช เขจรศาสตร์. (2549). วิถีพุทธธรรมตามแนววัดป่าภาคอีสานกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาไทยศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6. (2558). รูปแบบการบริการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุพิการ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ขอนแก่น: สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 6.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2556). คุณธรรมนำความรู้ : รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ คุณค่าความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี คอมมูนิเคชั่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564.
เอนก วัดแย้ม. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. เรียกใช้เมื่อ 12 ตุลาคม 2563 จาก http://mpa2011.blogspot.com/2012/05/human-resource-management.html