การศึกษาการใช้ไพลในตำรับยาไทยสำหรับรักษาโรคระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลการใช้ไพลในตำรับยาไทยสำหรับรักษาโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จากตำราการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการวิจัยจากเอกสาร ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่มผลการวิจัยพบว่าการใช้ไพลจากตำราการแพทย์แผนไทย ปรากฎข้อมูลการใช้ไพลในตำรับยาไทยทั้งหมด 267 ตำรับ และปรากฏการใช้ไพลในตำรับยาไทยสำหรับรักษาโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทั้งหมด 12 ตำรับ เมื่อนำตำรับยาทั้ง 12 ตำรับมาตรวจสอบความซ้ำซ้อนแล้วพบว่าคงเหลือตำรับยาที่มีส่วนประกอบไพลที่ใช้รักษาโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จำนวน 9 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาพระอังคบพระเส้นตึงให้หย่อน ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น ตำรับยาแก้ปวดศีรษะจมูกตึง ตำรับยาแก้ลมขึ้นแต่แม่เท้าให้ปวดศีรษะเมื่อยต้นคอเป็นกำลัง ตำรับยาชุมนุมวาโย ตำรับยาแก้ลมบวม ลมเมื่อย ลมเหน็บชา ลมแสบเสียวตามเส้น ตำรับยาแก้กระไสย ตำรับยาเข้าน้ำมัน และตำรับยาประคบ โดยมีรูปแบบวิธีการปรุงตำรับยาที่มีไพลเป็นส่วนประกอบทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ ยาปั้นเป็นแท่ง ยาน้ำมัน ยาประคบ ยาขี้ผึ้ง และยาผง รวมถึงมีวิธีการใช้ตำรับยา 5 วิธี ได้แก่ รับประทาน ประคบ พอก ทา และสุม การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงความรู้เกี่ยวกับตำรับยาไทยที่มีไพลเป็นส่วนประกอบสำหรับรักษาโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และสามารถนำมาพัฒนาคุณภาพตำรับยาและรูปแบบยาไทยให้ร่วมสมัย ทันสมัย และนำสมัยตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตแพทย์แผนไทยต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564).สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและ เศรษฐกิจในประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565.จากwww.dop.go.th/th/know/15/926
กรมศิลปากร. (2542). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมศิลปากร. (2542). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมศิลปากร. (2542). ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1. นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 2. นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 3. นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.
ชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์ และคณะ. (2555). ผลผลิตระหว่างหัวพันธุ์ที่แตกต่างกันของไพล. ในรายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ธนันต์ ศุภศิริ และ อานนท์ วรยิ่งยง. (2562). การสำรวจสถานะสุขภาพและมุมมองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสระบุรี. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(3), 193-200.
พระยาพิศณุประสาทเวช. (2450). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญถนนอัษฎางค์.
พระยาพิศณุประสาทเวช. (2450). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศุภการจำรูญถนนอัษฎางค์.
ไพรัตน์ หริณวรรณ และคณะ. (2552). การใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน ในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปี 2545-2549. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 3(3), 412-418.
วรรณา สนองเดช. (2561). การจัดการกลุ่มอาการผิดปกติกล้ามเนื้อและโครงกระดูกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 32(1), 189-207.
อำพล บุญเพียร และลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ (2562). การศึกษาประสิทธิผลของการนวดด้วยน้ำคั้นไพลและน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(1), 121-130.
Jellad, A. et al. (2013). Musculoskeletal disorders among Tunisian hospital staff: prevalence and risk factors. The Egyptian Rheumatologist, 35(2), 59-63.