ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มารับการรักษา ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นพบสภาพการณ์จริง 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติ ที่เหมาะสมกับตนเองและ 4) การคงไว้ซึ่งวิธีปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ มีการเข้ากลุ่ม 4 ครั้งแต่ละครั้งใช้เวลา 60 นาที ภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์คือ สัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ไค-สแควร์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มทดลองหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง และ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับพฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
แก้วรี กฤตสัมพันธ์. (2562). ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสามเงา จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 6(2), 78-93.
โชติกา พลายหนู และคณะ. (2561). การเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัว และลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้เป็นเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(1), 137-155.
โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. (2564). สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคเบาหวาน. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 จาก https://ddc. moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
จุฑามาศ ใบพิมาย และคณะ. (2560). ผลของการกำกับตนเองด้วยข้อมูลทางคลินิกต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(3), 131-151.
ชัยณรงค์ ทรงทอง. (2560). การเสริมพลังอำนาจในการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานตำบลนาโพธิ์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(1), 61-67.
ณาเดีย หะยีปะจิ และพิสิษฐ์ พวยฟุ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลที่กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(3), 83-94.
รักษิตา ภานุพันธ์ และคณะ. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลนาจิก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขชุมชน, 4(1), 35-47.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers Inc.
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in Mothers of chronically ill Children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210.
Miller, J. F. (1992). Coping with chronic illness overcoming powerlessness (2nd ed.). Philadelphia: F.A. Davis Company.
Orem, D. E., et. al. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby.