การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนไทรงามพิทยาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไทรงามพิทยาคม 2) เพื่อสร้างและใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไทรงามพิทยาคม 3) เพื่อศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไทรงามพิทยาคม 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนไทรงามพิทยาคม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ผู้เรียนและผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน โดยใช้ข้อมูลทางสถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) ปัจจัยการบริหาร 3) กระบวนการบริหาร 4) ผลลัพธ์และแนวทาง 2. ผลการตรวจสอบการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนไทรงามพิทยาคม ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก 3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนไทรงามพิทยาคม พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.97 และผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโรงเรียนไทรงามพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับ ดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 90 ขึ้นไป 4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
ณรงค์ อภัย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพ สำหรับเด็กด้อยโอกาส โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(1), 32-45.
ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2564). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 34-51.
ธนสมพร มโนรัตน์. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านห่องวารี (นิพันธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. ศรีสะเกษ: โรงเรียนบ้านห่องวารี (นิพัทธ์ธรรมาภรณ์อุปถัมภ์).
นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 24-37.
พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า. (2557). รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า และสุวรรณ นาคพนม. (2557). รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม , 4(3), 43-50.
รุจิ ภู่สาระ . (2557). การบริหารวิชาการและการประกันคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
โรงเรียนไทรงามพิทยาคม. (2562). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนไทรงามพิทยาคม พ.ศ.2562 – 2565. กำแพงเพชร: โรงเรียนไทรงามพิทยาคม.
ศิธาชัย ศรีอุดม และคณะ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 74-81.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553ก). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2560) ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553ข). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต. กรุงเทพมหานคร: อีเลฟเล่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
อภิวัฒน์ แสนคุ้ม. (2561). การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยนวัตกรรม “School Test”. วารสารวิชาการ, 21(2), 19-29.
เอกไชย หมอกชัย และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 บุรีรัมย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(ฉบับพิเศษ), 1077-1091.