การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร 2) พัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือศึกษาสถานการณ์ ดำเนินการพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเลือกแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จำนวน 9 คน และผู้ป่วยวิกฤต จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม รูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต แบบรวบรวมผลลัพธ์ในการจัดการความปวด และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย และพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ของการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต ได้แก่ ไม่มีรูปแบบในการจัดการความปวดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม และ ไม่มีวิธีการประเมิน และการจัดการความปวดที่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยวิกฤต ระยะพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบการจัดการความปวด คือ PDCA Model ผลลัพธ์ภายหลังใช้รูปแบบ พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความปวดลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<.01) 2) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการความปวดมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<.01) 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในการใช้รูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิกา ฉ่ำพึ่ง และอนัญญา มานิตย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารพยาบาลโรคหัวใจแลทรวงอก. 29 (1), 42-57.
จงลักษณ์ รสสุขุมาลชาติ และพนารัตน์ เจนจบ. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. เชียงรายเวชสาร. 13 (1), 182-199.
ประวีณา อัศวพลไพศาล และจุฬาวรี ชัยวงศ์นาคพันธ์. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม ห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่.วาสารโรงพยาบาลแพร่. 29 (1), 139-152.
วรางคณา อ่ำศรีเวียง. (2558). การจัดการความปวดในผู้ป่วยวิกฤต : บทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาล.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 8 (2), 1-8.
ลำดวน มีภาพและคณะ. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดแบบเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 32 (6), 561-570.
โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร. (2563). สถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก. ชัยนาท: โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.
แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ และคณะ. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ. 25 (1), 49-62.
Crabtree, B. F. & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.
Deming, W. E. (2004). Out of the Crisis. Cambridge: Massachusetts Institute of Technology.
Macintyre, P. E. et. al. (2010). Physiology and Psychology of acute pain. Working Group of the Australian and New Zealand College of Anaesthetists and Faculty of Pain Medicine, Acute Pain Management: Scientifc Evidence. (3 rd ed.). ANZCA & FPM: Melbourne
Simpson, R. S. (2008). Clinical pain management: Acute pain. London: Hodder Arnold.
Smeltzer, S. C. & Bare, B. C. (2000). Brunner and suddarth’s textbook of medical surgical nursing. (9 th ed.). Philadelphia: Lippincott
Warfield, C. A. & Fausett, H. J. (2002). Manual of Pain Management. (2 nd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.