การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

ณัฐชานันท์ ฐิติวัชรพงษ์
พรพิพัฒน์ เพิ่มผล
ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนารูปแบบ 3) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงรูปแบบ 4) พัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน 5) ประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบ  การวิจัยนี้เป็น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ ผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการกลุ่มงานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 462 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจากตารางของ เครจซี่และมอร์แกนและใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการปฏิบัติงาน การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัล 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความต้องการความจำเป็น มีค่าความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับดังนี้ การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน การดำเนินการปฏิบัติงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน การติดตามผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัล 4) รูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย รายละเอียดของรูปแบบ  แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ 5) การประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของผู้ทรงคุณวุฒิ รูปแบบมีความเหมาะสมของการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ฐิติวัชรพงษ์ ณ. ., เพิ่มผล พ., & เสนาฤทธิ์ ป. . (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 443–459. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/259816
บท
บทความวิจัย

References

จิรประภา อัครบวร. (2561). การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร. (2562). การจัดการผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ยงยุทธ ทรัพย์เจริญ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วณิชชา ภัทรประสิทธิ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรันย์ดิษฐ์ เบญจพงศ์. (2562). "โฉมหน้าการบริหารผลการปฏิบัติงาน" Corresponding author. นครสววรค์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). หลักการของระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2561). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aguinis, H. (2013). Performance Management. 3rd ed. New Jersey: Pearson.

Armstrong, M. (2015). Armstrong’s Handbook of Performance Management: An Evidence-1 Based Guide to Delivering High Performance. 5th ed. London: CPI Group (UK) Ltd.

Bussakorn, kh. & Mullika, S. (2018). “The Relationship between Perception toward Negative Feedback Giving and Intention to Use Negative Feedback for Job Improvement of Generation Y Employee”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(4), 561-573.

IBM Center for the Business of Government. (2013). Six Trends Driving Change in Government. Retrieved January 15, 2016, from http://www.businessofgovernment.org/report/six-trends-driving-change-government

Joyce, B. and Weil, M. (1996). Model of Teaching. USA: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Vecchio, R. R.; & Appelbaum, H. S. (1995). Managing Organizational Behavior. Toronto: Dryden.

Wyatt, L. (2011). he Role of Mindfulness in Clinical Supervision. In Ph.D. Dissertation. The University of North Caroline at Greensboro.