การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ในวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง กล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในวิชาฟิสิกส์ ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1)คู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ หัวข้อ โมเมนตัม การดลและแรงดล เป็นแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ใช้วัดก่อน และหลังการทำกิจกรรม 3)แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวิชาฟิสิกส์ หัวข้อ โมเมนตัม การดลและแรงดลโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 12.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.65 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 18.43 คะแนนคิดเป็น 92.15 เมื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ย พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องกล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ ทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านความคิดยืดหยุ่นเท่ากับ 3.80 ด้านความคิดริเริ่มเท่ากับ 3.50 ด้านความคิดละเอียดลออเท่ากับ 3.16 และด้านความคิดคล่องเท่ากับ 3.00
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรวิทย์ เกื้อคลัง. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง สภาพสมดุล และสภาพยืดหยุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18 (2), 124-135.
นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปึที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับปกติ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคมีศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพชรรัตน์ พูลเพิ่ม. (2563). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง ลม ฟ้า อากาศ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM). ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชธานี.
ภัสสร ติดมา. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางSTEM Education เรื่องระบบของร่างกายมนุษย์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 13 (3), 71-76.
วชิร ศรีคุ้ม. (2559). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://www.slideshare.net/wawachira/stem-education-62525207
ศิวณัฐ ภูมิโคกรักษ์. (2562). การศึกษาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 17 (2), 73-79.
สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท, 42 (189), 7-8.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17 (2), 201-207.
Han, S. et al. (2014). How Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Project-based Learning (PBL) affects High, Middle and Low Achievers Differently: The Impact of Student Factors on Achievement. International Journal of Science and Mathematics Education, 13 (5). 1089-1113.
Laura, G. (2012). Assessing 21st Century Skills : A Guide to Evaluating Mastery and Authentic Learning. California: Corwin Press, Inc.
Torrance E.P. (1965). Rewarding creative behaviour : experiments in classroom creativity . Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall.