การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ การรับรู้ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ในการศึกษาดังกล่าว ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริโภคที่เข้าใช้บริการร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 สาขา ซึ่งไม่ทราบจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่แน่ชัด จึงได้ใช้สูตรคำนวณจึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 เกณฑ์การแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง ระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 เกณฑ์การแปลผลอยู่ในระดับมาก ระดับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เกณฑ์การแปลผลอยู่ในระดับมาก ในด้านผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า การเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ร้านคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 28 กรกฎาคม 2564 จาก https://dep.go.th /images/uploads/files/situation_June64.pdf
ประทุม ฤกษ์กลาง. (2553). ยุทธศาสตร์การวางแผนประชาสัมพันธ์ Strategic public relation planning. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรรณิสา บัวรา. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ การตัดสินใจซื้ออาหารปรุงสำเร็จพร้อมทาน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ .
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สานพลังวิสาหกิจเพื่อสังคม. (2564). ข้อมูลโครงการคาเฟ่ อเมซอน ฟอร์ แช้นส์. เรียกใช้เมื่อ 11 กรกฎาคม 2564 จาก www.sarnpalung.pttgrp.com
สุภะรัฐ ยอดระบำ. (2551). การใช้แนวคิดด้านการประชาสัมพันธ์ในวิทยานิพนธ์สาขาการประชาสัมพันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ สาขานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี วงษ์มณฑา. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
หนึ่งฤทัย โฉมมณี. (2562). การเปิดรับข่าวสาร ภาพลักษณ์ และการตัดสินใจใช้บริการธนาคารรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง. ใน วิทยานิพนธ์ สาขานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aaker, D. (2014). Aaker on Branding 20: Principles that Drive Success. New York: Morgan James Publishing.
Cronbach, L. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5 th ed. New York: Harper Collins.
Cutlip, S. M. et al. (2006). Effective public relations edisi kesembilan. Jakarta: Kencana Prenada Media Group.
Hawkins, D., & Mothersbaugh, D. (2009). Concept of Consumer Behavior. Consumer behavior building Marketing Strategy, 12th edition. Retrieved February 24, 2564, from ttps://www.amazon.com/Consumer-Behavior-Building-Marketing-Strategy/dp/0077645553
Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition (Vol. 199). NJ: Prentice Hall UpperSaddle River.