การถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคนิคการม้วนเส้นด้ายยืนสู่ชุมชน

Main Article Content

ศรัณย์ จันทร์แก้ว
กิตติศักดิ์ อริยะเครือ
สุดากาญจน์ แยบดี
สมใจ แซ่ภู่

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคนิคการม้วนเส้นด้ายยืนให้กับวิสาหกิจชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มทอผ้าบ้านหนองโกวิทย์ กลุ่มทอผ้าบ้านพรสวรรค์ จังหวัดสระแก้ว และกลุ่มทอผ้าบ้านขัวก่าย กลุ่มทอผ้าบ้านนางัว จังหวัดสกลนคร จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต  โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาขั้นตอนกระบวนการขึ้นเส้นด้ายยืนแบบเดิม 2) ออกแบบและพัฒนาเครื่องม้วนเส้นด้ายยืน 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้และวิธีการใช้อุปกรณ์ม้วนเส้นด้ายยืน ผลการศึกษาการทอผืนผ้าโดยใช้อุปกรณ์การม้วนเส้นด้ายยืนให้กับวิสาหกิจชุมชน คือ 1. ลดปัญหาการใช้พื้นที่ในการม้วนเส้นด้ายยืน ซึ่งการม้วนเส้นด้ายยืน แบบเดิมจะต้องใช้พื้นที่เท่ากับความยาวของเส้นยืน มีความยาวของเส้นด้ายยืนโดยเฉลี่ยจะยาว 15-25 เมตร ในขณะที่ใช้อุปกรณ์ม้วนเส้นด้ายยืนที่พัฒนาขึ้นใหม่ จะใช้พื้นที่ 4-5 เมตร ซึ่งประหยัดพื้นที่มากกว่า 2. ลดปัญหาด้านการใช้เวลาลดน้อยลงสามารถม้วนเส้นด้ายยืนได้ไม่จำกัดเวลา แม้สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย 3. ลดปัญหาการใช้แรงงานในการม้วนเส้นด้ายยืน ด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่จะใช้แรงงานเพียง 2 คน เมื่อเปรียบเทียบกับการม้วนเส้นด้ายยืนแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานคน 4-5 คน ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินการม้วนเส้นด้วยยืนด้วยเทคนิคที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นใหม่ ในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดและใช้ประโยชน์ได้ด้วยตนเอง และวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างแบรนด์สินค้าจากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้อุปกรณ์เทคนิคการม้วนเส้นด้ายยืนออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

Article Details

How to Cite
จันทร์แก้ว ศ. ., อริยะเครือ ก. ., แยบดี ส. ., & แซ่ภู่ . ส. . (2022). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคนิคการม้วนเส้นด้ายยืนสู่ชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 257–269. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/259802
บท
บทความวิจัย

References

กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การสังเคราะห์องค์ความรู้ ภูมิปัญญาผ้าทอบ้านเนินขามสู่การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทองสุข วันแสง. (2537). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพการทอผ้าไหมมัดหมี่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

มนชนก อุปะทะ . (2559). การจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาประเภทผ้าทอของกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอยกดอก ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสาร สมาคมนักวิจัย, 21 (3), 155-166.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถาบันสิ่งทอแห่งประเทศไทย. (2564). อุตสาหกรรมสิ่งทอและเศรษฐกิจ BCG. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.thaitextile.org/th/insign /detail.2487.1 .0.html

สนั่น บุญลา. (2553). ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.

สนั่น บุญลา. (2561). การทอผ้าแบบหัตถกรรม. กรุงเทพมหานคร : บีเคเค บริษัท อาร์ต แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

สุจริต บัวพิมพ์. (2545). ผ้าไทย ใยแห่งปัญญา คุณค่าเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพินยา อุปลกะลิน. (2558). เมื่อนาโนเทคโนโลยีมีบทบาทกับผ้าทอพื้นเมือง. เรียกใช้เมื่อ 14 มิถุนายน 2561 จาก http://horizon.sti.or.th/node/14