ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยได้แก่ ครูโรงเรียนในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 226 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านทักษะทางเทคนิค ( = 4.86,S.D. = 0.25) ด้านทักษะทางความคิดรวบยอด ( = 4.84, S.D. = 0.33) และด้านทักษะทางมนุษย์ ( = 4.83,S.D. = 0.31) 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ในความคิดเห็นของครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ต่างกันมี โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บูรชัย ศรีมหาสาคร. (2549). ผู้นำพันธุ์แท้ ชุดมุมบริหารสู่การเป็นผู้นำ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.
ประคอง แสนจำหน่าย. (2553). ทักษะการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ยุพา ทองเรือง. (2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
ศิริพงษ์ เศาภายน. (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
สมบัติ บุญประเคน. (2544). ผู้บริหารยุคปฏิรูปการศึกษาตามลักษณะ 5 ป. วารสารครูขอนแก่น, 1(2), 20-21.
สมศักดิ์ จินดาไทย. (2553). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สุรกิจ กิณโรส. (2554). ทักษะการบริหารของผู้อำนวยการสถานศึกษาตามทัศนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อรุณี ทองนพคุณ. (2548). การศึกษาบทบาทการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
อารียา ศิริบุญยประสิทธิ์. (2554). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Katz,R.L. (1971). Skill of an effective administration. In Development executive leaders. Massachusetts: Harward University Press Cambridge.