การรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตามความคาดหวังและตามความเป็นจริงของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษา

Main Article Content

ยุพิน หมื่นทิพย์
จันทิมา ช่วยชุม
วรนิภา กรุงแก้ว
ชุติมา รักษ์บางแหลม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาประสบการณ์วิชาชีพ ตามความคาดหวังและความเป็นจริงของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 84 คน และครูพี่เลี้ยง จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดการรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามความคาดหวังและความเป็นจริง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านความตรงของเนื้อหาและหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ผลการเรียนรู้ของครูพี่เลี้ยงตามความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( =4.52, SD=.33) และความเป็นจริงโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( =3.79, SD=.56) ส่วนการรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( =4.50, SD=.38) และการรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามความเป็นจริงโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ( =4.61, SD=.38) เช่นกัน 2) การรับรู้ผลการเรียนรู้ตามความคาดหวังของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษา พบว่า ด้านที่ 5 การคิด การวิเคราะห์เชิงตัวเลข มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับการรับรู้ผลการเรียนรู้ตามความเป็นจริงของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษา พบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงควรจัดกิจกรรมให้ผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน

Article Details

How to Cite
หมื่นทิพย์ ย. ., ช่วยชุม จ. . ., กรุงแก้ว ว. . ., & รักษ์บางแหลม ช. . . (2022). การรับรู้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตามความคาดหวังและตามความเป็นจริงของครูพี่เลี้ยงและนักศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 65–78. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/259788
บท
บทความวิจัย

References

Cederbaum, J. & Klusaritz, H. A. (2009). Clinical instruction : using the strengths-based approachwith nursing students. J Nurs Educ, 48(8), 422-428.

Gleeson, M. (2008). Preceptorship : facilitating student nurse education in the Republic ofIreland. Br J Nurs, 9(6), 376-380.

Paton, B.I. (2010). he professional practice knowledge of nurse preceptors. J Nurs Educ, 49(3), 143-149.

Rusch, L. et al. (2019). Nurse Preceptor Perceptions of Nursing Student Progress TowardReadiness for Practice. Nurse Educ, 44(1), 34-37.

นุชรี ศิริพันธ์ และคณะ. (2562). ศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยปทุมธานี ในการศึกษารายวิชาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 2563 จาก http://61.19.238.50/PTU/images/journal/data/8-2-2019/8.pdf

ศิริวรรณ ตันนุกูล และวลัยนารี พรมลา. (2558). การรับรู้ต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลมหาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2),439-445.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 5 มิถุนายน 63 จาก http://www.education.mju.ac.th/fileDownload/51.pdf

สุกิจ ทองพิลา. (2552). ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำแหล่งฝึกภาคปฏิบัติต่อสมรรถนะของนิสิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 35-39.