ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของ ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วิรุทธิ์ เอี่ยมสหเกียรติ
วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ค้าหาบเร่แผงลองเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 341 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 30 เดือนกันยายน - 10 เดือนพฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน และ สถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.6 รองลงมาคือระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 33.1 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 3.2 ส่วนปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 50.7 ทัศนคติต่อการจัดการขยะ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 83.0และ แรงจูงใจต่อการจัดการขยะอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.0 การทำนายอิทธิพลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการขยะ ร้อยละ 34 ได้แก่ แรงจูงใจ (Beta = 0.586) ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ส่งเสริมนโยบายด้านการจัดการขยะให้ชัดเจน รวมถึงพัฒนาการใช้เครื่องมือในสื่อออนไลน์ อาธิเช่น เพสบุ๊ค ไลน์ ในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และ ใช้แรงจูงใจของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในการสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรม 3Rs (ลดการใช้, ใช้ช้ำ, รีไซเคิล)

Article Details

How to Cite
เอี่ยมสหเกียรติ ว. ., & วสีวีรสิว์ ว. . (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของ ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 277–289. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258884
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ปี 2559 - 2564. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ณัฐวดี สุขช่วย. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่านอำเภออรัญประเทศ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผกาวรรณ อุดร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ อำเภออรัญประเทศ. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันวิสาข์ คงพิรุณ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารย์ สิมาฉายา. (2563). ขยะพุ่งในกว่า60%ในช่วงโควิด 19. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก http://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=51

สำนักงานเทศกิจ. (2560). จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย. เรียกใช้เมื่อ 9 เมษายน 2564 จาก http://knowledgefarm.in.th/wp-content/uploads/2017/11/street-vending-in-thailand.pdf

สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์. (2555). บริการสาธารณะกับบทบาทองค์กรส่วนท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/422467

เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์ และสุมาลี พุ่มภิญโญ. (2560). ทัศนคติของครัวเรือนในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยาต่อการจัดการขยะแบบ 3Rs. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 10(2), 163-173.

Cronbach. (1972). The Dependability of Behavioral Measurement : Theory of Generasability for Scores and Profiles.New York: wikkey.

Daniel,W.W. (2010). Biostatistics:afoundation for analysis in the health sciences. (9 thed.) New jersey: John Wily&Sons.