รูปแบบการบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Results: OKRs เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1, 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านสมถวิล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

นัฐกานต์ บกสกุล
เรชา ชูสุวรรณ
นพดล นิ่มสุวรรณ
ชวลิต เกิดทิพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนอนุบาลบ้านสมถวิล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Results: OKRs ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านสมถวิล โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนอนุบาลบ้านสมถวิล คณะผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 95 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามปลายเปิด ด้วยการสังเกตุและจดบันทึกสถิติและทำ Focus Group การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบสถิติด้วยค่าร้อยละผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันมีนักเรียนที่ต้องส่งเสริมเฉลี่ยสูงถึง 87 % และมีจำนวนครูไม่สมดุลกับนักเรียนที่ต้องส่งเสริม เมื่อใช้รูปแบบการบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Result: OKRs เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ ระยะเวลา 10 สัปดาห์ มีการปรับรูปแบบ 2 ครั้ง เพื่อสร้างสมดุลระหว่างครูต่อนักเรียนตามความสามารถในการอ่านและการเขียน โดยมีปัจจัยสำคัญในการใช้รูปแบบบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Result: OKRs ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย ชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร 2) การมีส่วนร่วมและยอมรับในการตั้งเป้าหมาย 3) มีความสอดคล้องในการดำเนินงานทุกระดับ 4) การทำงานเป็นทีมงาน 5) การสื่อสารข้อมูล 6) ติดตามการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง 7) การเสริมแรงมุ่งสู่ความสำเร็จ ผลการใช้รูปแบบการบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Result: OKRs มีนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัยสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดที่ 35.5 % และนักเรียนที่ต้องส่งเสริมลดลงอยู่ที่ 51.5 %

Article Details

How to Cite
บกสกุล น. ., ชูสุวรรณ เ. ., นิ่มสุวรรณ น., & เกิดทิพย์ ช. . (2022). รูปแบบการบริหารด้วยแนวคิด Objective and Key Results: OKRs เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1, 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านสมถวิล อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(2), 142–155. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258842
บท
บทความวิจัย

References

กองงานในพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. (2549). พระราชดำรัส ด้านการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2565 จาก http://www.sirindhorn.net/hrh_new/s3_1_1.php

กิตติทัช เขียวฉอ้อน. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11 (1), 355-370.

กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์. (2563). OKRs playbook โอเคอาร์ จากกลยุทธ์สู่การปฎิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เกรทมีเดีย เอเจนซี่.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

นพดล ร่มโพธิ์. (2561). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: เอ็นพีอินเทลลิเจนซ์.

บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. (2555). การศึกษาในวิถีพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้. เชียงใหม่ : สมใจนึก : ปริ้นท์ แอนด์ กอ๊บปี้ เซ็นเตอร์.

เบญจวรรณ แจ่มจำรุญ. (2557). ปัจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร และสื่อ สังคมออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2562). แนวทางการพัฒนาความผูกพันของพนักงานในองค์กร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13 (2), 493-504.

ศุภรัตน์ ถนอมแก้ว. (2559). กลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในแต่ละช่วงวัยของพนักงานในองค์การ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14 (1), 11-16.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทําระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานการศึกษาของชาติโดยใช้แนวคิดระบบการวัดผลแบบ OKRs : Objective and Keys Results . กรุงเทพมหานคร: 21เซ็นจูรี่.

สุภางค์ จันทร์วานิช. (2552). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Latham, G. P. (2004). The motivational benefits of goal - setting. Academy ofmanagement Executive, 18 (4), 126-129.

Mayo, Elton. (1933). The Human Problems of an Industrial Civilization. New York: Macmillan.