การตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กรอบแนวคิดการวิจัยใช้งานวิจัยของวิชาญ รอดไพบูลย์ ประชากรที่ใช้วิจัย คือ ประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่เขตเทศบาล จำนวน 101,110 คน กลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกนได้จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม นำไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมาไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ด้านคุณสมบัติหัวคะแนน และด้านบทบาทหน้าที่และสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า ประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี อายุ อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เสนอแนวทางการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า เทศบาลนครรังสิตควรดำเนินการ ดังนี้ 1) การเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงประชาชนโดยการนำสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ 2) ข้าราชการต้องเป็นกลางทางการเมือง 3) สถานที่ให้ผู้สมัครใช้ร่วมกันในการพบประชาชน และ 4) ความโปร่งใสเกี่ยวกับการหาเสียง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำรัส โท๊ะป๋า. (2550). ทัศนะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพญาเม็งรายที่มีต่อการเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพญาเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เทศบาลนครรังสิต. (2563). กองแผนและงบประมาณ. (2564, บรรณาธิการ, มีนาคม, ผู้อำนวยการสร้าง, และ 28) เข้าถึงได้จาก http://rangsit.org/New/index.php/th/
stet-clita-kasd-guber/1746-14012563-1
ธงชัย ไตรสิกขา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงพะงา กอธวัช. (2553). การศึกษาเหตุผลในการตัดสินใจเลือกนายกเทศมนตรีตําบล นาเมือง อําเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์การเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันธิกานต์ อุดม. (2553). ปัจจัยทีส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตังนายกนายกเทศมนตรีเทศบาล ตําบลกระโสม อําเภอตะกัวท่ง จังหวัดพังงา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พนมศักดิ์ ปฏิมาประกรณ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างหิน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น . มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). หลักการบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มั่นเศรษฐ์ ไตรชลาสินธุ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชาญ รอดไพบูลย์. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.