รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

Main Article Content

ภควัต โอวาท
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์        และความต้องการจำเป็น 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน        แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์                     และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน    92 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศ จำนวน 6 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามเพื่อประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านการเงิน และด้านนักเรียน 2. รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์                      3) วิธีดำเนินการ มี 4 ด้าน 29 วิธีดำเนินการ ดังนี้ ด้านกระบวนการภายใน มี 10 วิธีดำเนินการ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา มี 7 วิธีดำเนินการ  ด้านงบประมาณและการเงิน มี 6 ดำเนินการ และด้านนักเรียน มี 6 วิธีดำเนินการ 4) การประเมิน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ                  ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
โอวาท ภ., & คามดิษฐ์ ส. . (2022). รูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้วิธีดุลยภาพ สำหรับโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 273–291. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258195
บท
บทความวิจัย

References

โกศล ดีธรรม. (2547). เครื่องมือนักบริหารยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์.

ดวงเดือน วนิชชากร. (2559). การศึกษาการบริหารแบบสมดุลของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม่: Modern Management. กรุงเทพมหานคร: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุณยาพร สารมะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยนุช เปี่ยมวิริยวงศ์. (2558). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยฐานะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะ โกฏิแสน. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้ Balanced Scorecard ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชพล คชชารุ่งโรจน์. (2548). โรงเรียนทันสมัย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศุนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. . (2001). Learning Together and Alone. Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall.

Kaplan, Robert S., & Norton David P. (1996). The Balanced Scorecard : Translating. Strategies into Action. Boston: Harvard Business School Press.