Sandbox: หลักการและแนวคิดสำหรับการประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์

Main Article Content

สิณีณาฏ อารีย์
วุฒิชัย เนียมเทศ
เรชา ชูสุวรรณ
วรลักษณ์ ชูกำเนิด

บทคัดย่อ

ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21                   ที่สถาบันการศึกษาทุกระดับจำเป็นต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริง ขณะที่การพัฒนาทักษะดังกล่าวยังคงอยู่ในขอบเขตจำกัด พบปัญหา อุปสรรค ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน และการบริหารจัดการที่ขาดความคล่องตัว ติดขัดในเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้นำแนวคิดและหลักการของแซนด์บ็อกซ์เข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ระดับพื้นที่ ที่กำหนดให้พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเป็นพื้นที่ที่มีอิสระในการบริหารจัดการ ปรับปรุงระบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ในการนำหลักการแซนด์บ็อกซ์ไปใช้ในสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์นั้น จำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ คิดนอกกรอบ มีอิสระในการบริหารสถานศึกษา การปรับใช้หลักสูตรที่เหมาะสมกับสถานศึกษา การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ การบริหารจัดการบุคลากร 2) ครูผู้สอน พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา การปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอน การจัดหาสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน การปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินผลที่สอดคล้องกับผู้เรียน 3) ผู้เรียน มีอิสระในการศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ตนเองชอบและสนใจ โดยการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและนวัตกรรมการศึกษา ที่เสริมสร้างพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา

Article Details

How to Cite
อารีย์ ส. ., เนียมเทศ ว. ., ชูสุวรรณ เ. ., & ชูกำเนิด ว. . (2022). Sandbox: หลักการและแนวคิดสำหรับการประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 166–181. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258184
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ที่มาของ ‘Sandbox’ ศัพท์เล็กๆ ที่เติบโตในแวดวงคอมพิวเตอร์. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/

detail/952043

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซัคเซสมีเดีย.

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ และธนารักษ์ เถื่อนแก้ว. (2560). การสอนแบบทันสมัยและเทคนิควิธีสอนแนวใหม่. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก http://regis.skru.ac.th/RegisWeb/

webpage/addnews/data/2017-07-24_078.pdf

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). กกพ.ตั้งรับเทคโนโลยีเปลี่ยน เปิดพื้นที่ Sandbox สร้างนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www.thansettakij.com/economy/

ดวงจันทร์ วรคามิน และคณะ. (2559). โครงการ การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(2), 188-204.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). แนวปฏิบัติเรื่อง แนวทางการเข้าร่วมทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox). กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 102-120 (30 เมษายน 2562).

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.

พิทักษ์ โสตถยาคม. (2562). สบน. ส่งสัญญาณโรงเรียนนำร่องเร่งปรับหลักสูตรเตรียมรับนโยบาย. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www2.edusandbox

.com/sandbox-curriculum/

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). คิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). ใน เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัฐพล ประดับเวทย์. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 1051-1065.

วนินทร สุภาพ. (2561). ผังมโนทัศน์: เครื่องมือสําคัญสําหรับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 1-14.

ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2557). กลยุทธ์การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: แผนที่มโนทัศน. วารสารครุศาสตร์, 42(3), 194-200.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). โรงเรียน Sandbox ผลลัพธ์ความร่วมมือคนในพื้นที่ รัฐ เอกชน สู่ ร.ร. ดีใกล้บ้าน. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://tdri.or.th/2021/03/education-sandbox-event-visualnote/

สมกิต บุญยะโพธิ์ และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2557). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 80-95.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. นนทบุรี: บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด.

สำนักนิติการ สพฐ. (2563). พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://obeclaw.obec.go.th/archives/1231

เอกพงษ์ หริ่มเจริญ. (2564). ที่มาของ ‘Sandbox’ ศัพท์เล็กๆ ที่เติบโตในแวดวงคอมพิวเตอร์. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/

detail/952043

Forehand, M. (2010). Bloom’s Taxonomy. In M. Orey (Ed.), Emerging perspectives on learning, teaching, and technology (pp. 41-47). Switzerland: Global Text.

Kanokwan. (2564). Sandbox คืออะไร สำคัญอย่างไรในโลกธุรกิจ. Retrieved สิงหาคม 5, 2564, from https://workpointtoday.com/what-is-sandbox/

Open Polytechnic Kuratini Tuwhera. (2014). How to think critically and analytically. Retrieved August 5, 2021, from http://www.openpolytechnic .ac.nz/study-with-us/study-resources-for-students/assignments/how-to-think-critically-and-analytically/