แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงในประเทศไทย

Main Article Content

ปรานต์ปราชญ์ เสาวภานันท์
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหญิง 2) ศึกษาบริบทการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่การสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นผู้นำในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาความก้าวหน้า
ของผู้หญิงในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และลงภาคสนามทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล
เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า
1) กระบวนการคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงระบบของราชการไทยเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทและยอมรับผู้หญิงในการทำงานของระบบราชการและให้ผู้หญิงก้าวสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น 2) ด้านบริบทการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
การสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นผู้นำในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด พบว่า การที่รัฐบาลได้มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานแบบมืออาชีพ ทำให้ผู้หญิงได้รับการคัดเลือกและมีความก้าวหน้าในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมากขึ้น 3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความก้าวหน้าของผู้หญิงในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด พบว่า ผู้หญิงเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลดลงและส่งผลให้ผู้หญิงมีการพัฒนาและ
มีความก้าวหน้าสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
เสาวภานันท์ ป., & เจริญพร . ช. . (2022). แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(1), 50–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/258169
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2529). คู่มือการปฏิบัติงานการบริหารงานบุคคล. กรมการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

การุณย์ สุวรรณปัทมะ. (2528). เพศกับการเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร ศึกษาเฉพาะกรณีตำแหน่งผู้ช่วย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตรการ หล่อสุวรรณรัตน์. (2530). ปัจจัยเกื้อหนุนความก้าวหน้าของข้าราชการพลเรือนสตรีไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุมพล หนิมพานิช. (2553). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ : หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปาริฉัตร ตู้คำ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้บริหารสตรีในองค์กรภาครัฐ:การทบทวนวรรณกรรม. วารสารนักบริหาร, 33(3), 25-32.

รัชดามาศ มากพร้อม. (2544). โอกาสความก้าวหน้าของข้าราชการสตรี : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงาน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2549). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), 85-98.

สุษมา น้อยสำราญ. (2544). ปัจจัยส่งเสริมความก้าวหน้าทางอาชีพในสายงานวิศวกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาแรงงาน และสวัสดิการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนันต์ชัย คงจันทร์. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ และอุปสรรคในการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.