การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

บุญเรือน เนียมปาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดปทุมธานี จำนวน 402 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์แอลฟา และการถดถอยพหุคูณ และสรุปภาพรวมในรูปแบบของตาราง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ( = 2.76) ได้แก่  1.1) ด้านการรับรู้ติดตามข่าวสารทางการเมือง ( = 4.36) 1.2) ด้านการสนทนาเรื่องการเมือง ( = 2.58)  1.3) ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ( = 3.04) 1.4) ด้านการเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมือง ( = 1.34)  1.5) ด้านการติดต่อกับนักการเมือง ( = 1.61) 1.6) ด้านการชุมนุมทางการเมือง ( = 1.40)  และ 1.7) ด้านสภาพแวดล้อมทางการเมือง ( = 2.38) และ2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับบทบาทในชุมชน (R= 0.162) การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม (R= 0.161) และการไม่เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม (R= 0.166) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการเมือง (R= 0.433) สถานที่ที่พบปะพูดคุยประเด็นการเมือง (R= 0.616) ความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม (R= 0.666) ความเป็นปึกแผ่นของคนในชุมชน (R= 0.588) กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรม (R= 0.592)  และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (R= 0.438) และมีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในมิติต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
เนียมปาน บ. . (2021). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี . วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 292–307. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/257664
บท
บทความวิจัย

References

เมธา หริมเทพาธิป. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/629852

คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง. (2564). ทุกทิศทั่วไทย. เรียกใช้เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www. khaosod.co.th/around-thailand/news 2749916

ฐานิตา เฉลิมช่วง. (2559). ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 82-90.

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และคณะ. (2560). การศึกษาสร้างตัวแบบสภาพลเมืองจังหวัดปทุมธานีสู่ความเข้มข็งประชาธิปไตยไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2(1), 239-254.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีต จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

พระครูปลัดสุพัฒ ผาสุโก (แก้วประเสริฐ). (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมทรรศน์, 16(3), 177-190.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2554). ข้อมูลสถิติและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซี.รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด (1977).

สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. (2561). ข้อมูลสถิติ. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/exec-stat64

อนุสรณ์ ศิริชาติ. (2564). การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติของผู้บริโภคกับความเป็นกลางของหนังสือพิมพ์ออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 2564 พฤศจิกายน 2564 จาก http://gscm.nida.ac.th/public-action/Proceeding/2558/2-6.pdf

Berman Even & M. Shamsul Haque. (2015). Asain Leadership in Policy and Governance : Public Policy and Governance. Volume 24. Howard House, Waitron: Emerald Group Publishing Limited.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, Rensis. . (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.