ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมชีวิตคริสเตียนและผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

Main Article Content

ยุทธภัณฑ์ พินิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติกิจกรรมชีวิตคริสเตียนและผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมชีวิตคริสเตียนและผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ คริสเตียนไทย ที่เป็นสมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนท์ทั่วประเทศไทยจาก 3 องค์กรคริสต์ศาสนา จำนวน 452 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมชีวิตคริสเตียนไทยและผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติกิจกรรมชีวิตคริสเตียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การเข้าร่วมนมัสการพระเจ้า รองลงมาคือ การทำพันธกิจเพื่อสังคม ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การเข้าชั้นเรียนพระคัมภีร์ 2) ผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รองลงมาคือรักษาวินัยในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณและการมองชีวิตในเชิงบวก ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ปรารถนาอยากให้ผู้อื่นรู้จักพระคริสต์ และ 3) กิจกรรมชีวิตคริสเตียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณของคริสเตียนไทยอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
พินิจ ย. . (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมชีวิตคริสเตียนและผลที่เกิดขึ้นในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณตามการรับรู้ของคริสเตียนไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 . วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 244–259. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/257661
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). พฤติกรรมการช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 202-224.

คณะกรรมการประสานงานคริสตจักรโปรเตสแตนท์แห่งประเทศไทย. (2563). คู่มือแนวทางภาคปฏิบัติเพื่อเตรียมการเปิดรอบนมัสการในช่วงสถานการณ์โควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2564 จาก https://christlike.co/wp-content/uploads/กปท._คู่มือฯ-เตรียมการเปิดรอบนมัสการ.pdf

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2564). การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนิสิตจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 47(1), 75-98.

เนติ คู่โชติกุล. (2563). พระธรรมสดุดีกับชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ. เชียงใหม่: ประชากรธุรกิจ.

พุทธรักษ์ ปราบนอก. (2558). ศาสนาโลก. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 32(3), 49-69.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (2564). ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://tdri.or.th/2021/04/ covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

ยุทธภัณฑ์ พินิจ. (2563). การปลูกฝังหลักจริยธรรมคริสเตียนตามกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและ จริยศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ยุทธภัณฑ์ พินิจ และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านพระคัมภีร์ส่วนตัวในชีวิตประจำวันของสมาชิกคริสตจักรภาคที่ 11 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยคริสเตีย.

วรวรรณ จันทวีเมือง และทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ. (2559). นักศึกษาพยาบาลกับการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 208-219.

สกุณี เกรียงชัยพร และสาณุรักษ์ ฟ่องวาริน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวินัยฝ่ายวิญญาณกับความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาในสถาบันคริสต์ศาสนศาสตร์กรณีศึกษา วิทยาลัยพระคริสต์ธรรม แมคกิลวารี และสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 9(2), 116-129.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2559). พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

Best, J. W. et al. (2017). Research in education (10th ed.). Uttar Pradesh: Pearson.

Earls, A. (2020). Churches Gathering Again but With Precautions. Retrieved August 15, 2020, from https://factsandtrends.net/2020/07/24/study-churches-gathering-again-but-with-precautions/

eSTAR Foundation. (2020). Thai Churches Statistic. Retrieved April 30, 2020, from http://estar.ws

Holder, A (ed.). (2005). The Blackwell Companion to Christian Spirituality. Massachusetts: Blackwell.

Kowalczyk, O. et al. (2020). Religion and Faith Perception in a Pandemic of COVID-19. he Religion and Health, 59(1), 2671–2677.

Lorgunpai, S., & Fongvarin, S. (2020). Thailand. In Ross, R. R., Alverez SJ, F. D., & Johnson, T. M. (Eds.), Christianity in East and Southeast Asia. (pp.155-166). Edinburgh. Edinburgh: Edinburgh University Press.

The United Nations. (2020). Social Impact Assessment of COVID-19 in Thailand. Retrieved August 30, 2020, from https://www.unicef.org/thailand/

media/5071/file/Social%20 Impact %20Assessment%20of%20COVID-19%20in%20Thailand.pdf

Toussaint, S. D. (1983). Acts. In Walvoord, J. F., Zuck, R. B., & Johnson. (Eds.), The Bible Knowledge Commentary: New Testament. (pp.349-434). Colorado: David C Cook.

Valerio, R., & Heugh, G. (2020). A Christian Perspective on COVID-19. Retrieved August 30, 2020, from https://learn.tearfund.org/~/media/files/tilz/ovid19/covid-19-tearfund-a-christian-perspective-on-covid-19-en.pdf?la=en

Wiersma, W. & Jurs, S. G. (2009). Research Methods in Education. Massachusetts: Pearson.

Willard, D. (1988). The Spirit of the Disciplines: Understanding How God Changes Lives. San Francisco: Harper & Row.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Retrieved August 30, 2020, from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

Wright, N. T. (2020). God and the Pandemic: A Christian Reflection on the Coronavirus and its Aftermath. London: Zondervan.