หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในรัฐเสรีประชาธิปไตย
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักสิทธิและเสรีภาพนั้น นับว่าเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นสิ่งที่ควบคู่กับการกำเนิดรัฐธรรมนูญของรัฐทั้งหลาย โดยเฉพาะในรัฐเสรีประชาธิปไตย คำว่า “สิทธิ” นั้น หมายถึงอำนาจของบุคคลที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ว่าจะกระทำการใดได้อย่างอิสระ ส่วนคำว่า “เสรีภาพ” นั้น หมายถึงความสามารถของบุคคลในภาวการณ์เช่นนั้นจะกระทำการใด ๆ ตามที่ตนปรารถนา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 3 วรรคสอง ได้กล่าวถึงหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ล้วนมีบัญญัติรับรองอยู่ ในรัฐธรรมนูญเป็นหลัก แต่ในขณะที่สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนียึดถือ หลักนิติรัฐ ถือว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับการประกันโดยรัฐธรรมนูญ โดยยึดถือว่ารัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์เพื่อจะให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การบัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1. ทำให้ประชาชนได้ทราบว่าตนเองมีสิทธิเสรีภาพอะไรบ้างที่รัฐธรรมนูญรับรองคุ้มครองไว้ให้ 2. ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต้องระมัดระวังว่าจะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองคุ้มครองไว้ บทความชิ้นนี้จึงมุ่งพิจารณาถึงหลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญที่เป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในรัฐเสรีประชาธิปไตย ซึ่งผู้เขียนพบว่าหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั่วโลกนั้น ประกอบด้วยหลักสำคัญ 4 หลักด้วยกัน ได้แก่ 1) หลักความเสมอภาค 2) หลักความได้สัดส่วน 3) หลักความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ และ 4) หลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
Article Details
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ. (2563). คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ. สรุปคำพิพากษาของศาล และผลการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่น่าสนใจ. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/7con/con95.pdf
ฐิติกร สังข์แก้ว. (2556). อ่านความเป็นพลเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา : บริบทเชิงนิติประวัติศาสตร์ และภาคปฏิบัติการทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก file:///D:/Downloads/28448-Article%20Text-62647-1-10-20150108.pdf
บรรเจิด สิงคะเนติ และสมศักดิ์ นวตระกูลพิสุทธิ์. (2542). หลักความได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 1(2), 18-27.
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอน 10 ก หน้า 1-3. (6 กุมภาพันธ์ 2564).
มานิตย์ จุมปา. (2550). วิพากษ์การปฏิรูปรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. (6 เมษายน 2560).
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
เอช เอกูต์. (2477). กฎหมายอาชญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Brabant, G. et Stirn, B. (2002). Le Droit Administrative Française, 6th ede. Paris: Dalloz & PFNSP.
Fromont M.. (1996).Le principe de sécurité juridique, Actualité Juridique Droit Administratif, 1996 (spécial), 178-184.